การสื่อสารการตลาดของภาพยนตร์เรื่องไทบ้านเดอะซีรีส์
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาด, ภาพยนตร์, ไทบ้านเดอะซีรีส์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการสื่อสารการตลาดของภาพยนตร์เรื่องไทบ้านเดอะซีรีส์ ด้วยการสัมภาษณ์ชิงลึกจากผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องไทบ้านเดอะซีรีส์ ประกอบกับการศึกษาเอกสารข้อมูลต่างๆ ร่วมด้วย โดยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารการตลาดของภาพยนตร์เรื่องไทบ้านเดอะซีรีส์ นั้นมีการใช้เครื่องมือในการสื่อสารการตลาดที่หลากหลาย ประกอบด้วย (1) การโฆษณา โดยใช้การทำคลิปวิดีโอตัวอย่างภาพยนตร์เพื่อแนะนำภาพยนตร์และโน้มน้าวใจให้ผู้บริโภคอยากรับชมภาพยนตร์ โดยมีการโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ช่องทางยูทูป และมีการทำสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อนำไปสื่อสารตามโรงภาพยนตร์ใหญ่ๆ เท่านั้น เนื่องจากงบประมาณที่จำกัด (2) การประชาสัมพันธ์ ด้วยการสร้างแฟนเพจเฟซบุ๊ก เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บริโภค เกี่ยวกับวันเข้าฉาย หรือกิจกรรมต่างๆ ที่จะจัดขึ้น เมื่อมีการแชร์ข้อมูลลงเพจจะมีกระแสตอบรับจากผู้บริโภคที่ต้องการแสดงความคิดเห็น และเกิดการวิพากษ์วิจารณ์และบอกต่อในที่สุด (3) การสื่อสารการตลาดผ่านกิจกรรม โดยนำทีมนักแสดงจำนวนหนึ่งไปสร้างความประหลาดใจให้กับผู้ชมภาพยนตร์ตามโรงภาพยนตร์ต่างๆ นอกจากนี้ยังพบว่า ยังมีการสื่อสารการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing) ผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่กำลังเป็นกระแสนิยม เช่น การสร้างเนื้อหาเกี่ยวกับการแต่งกายสไตล์ไทบ้านเป็นการใส่กางเกงขาดๆ หรือแต่งกายตามตัวละครในภาพยนตร์ของผู้ชมภาพยนตร์ เมื่อมีการนำข้อมูลมาเผยแพร่จึงมีการบอกต่อกัน เพื่อชักชวนกันไปชมภาพยนตร์ นอกจากนี้ เนื้อหาของภาพยนตร์ที่เกี่ยวโยงกับวัฒนธรรมอีสาน สามารถสร้างความสนใจของผู้บริโภคได้ส่วนหนึ่ง เนื้อเรื่องที่มีความสนุกและเข้าถึงได้ง่ายของตัวละครที่สร้างจากชีวิตจริง จนทำให้ผู้บริโภครู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องนี้
References
ประกายกาวิล ศรีจินดา. (2561). “การสื่อสารการตลาดของโทรทัศน์ดิจิตอลของไทยในระยะเริ่มต้น.”วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 15(2).
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2551). ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย กรณีศึกษาการวางแผน
วิธาน เจริญผล. (2561). Insight ถอดหน้ากากผู้บริโภคยุค 4.0. สืบค้นจาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/3646.
สิปปภาส ตรังคสันต์. (2553). ปัจจัยความสำเร็จของภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดของบริษัทผู้สร้างภาพยนตร์ไทย ระหว่างปี พ.ศ.2542–2552. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาการภาพยนตร์และภาพนิ่ง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kotler, P. & Armstrong, G. (2014). Principles of Marketing. 15th ed. New Jersey : Prentice Hall.
Kotler, P., Kartajaya H. & Setiwan, I. (2010). Marketing 3.0. New Jersey : Arrangement John
Wiley & Sons, Ince.,
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต