พฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการที่มีต่อเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการเปิดรับ, การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ, เว็บไซต์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างด้านปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการที่มีต่อพฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ t-Test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีการเปิดรับเว็บไซต์ที่บ้านมากที่สุด เปิดใช้ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ และเปิดรับเว็บไซต์ในช่วงเวลา 18.01-24.00 น. มากที่สุด นักศึกษามีการใช้ประโยชน์และมีความพึงพอใจต่อเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักศึกษาที่มีเพศ และชั้นปีต่างกัน มีการเปิดรับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการไม่แตกต่างกัน
References
ศูนย์มาตรฐานรหัสและข้อมูลสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการ
ศรีปทุม ชลบุรี. 15(1), 125-136.
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทนา. (2560). [ออนไลน์]. สถิติจำนวนนักศึกษาลงทะเบียน. สืบค้นจาก https://www.ssru.ac.th/about/restu
วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์. (2543). คู่มือการเข้าอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้เริ่มต้น. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศิริพร พูพิพัตร. (2553). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของบุคลากรต่อเว็บไซต์กรมเจ้าท่า
กระทรวงคมนาคม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานพัฒนาธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน). (2560). [ออนไลน์]. รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2017. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/topics/thailand-internet-user-profile-2017.html
สุรศักดิ์ สงวนพงษ์. (2539). คู่มืออินเตอร์เน็ต: แนะนำหลักการพื้นฐานและเทคนิคสำหรับผู้ใช้งานทุกระดับ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods, 41(4), 1149-1160.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต