การสื่อสารการตลาดกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พิยดา ทองประเสริฐ สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • วิมลพรรณ อาภาเวท สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาด, พฤติกรรมการท่องเที่ยว, พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสำคัญของการสื่อสารการตลาดของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร 2) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย และ 3) การสื่อสารการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพิพิธภัณฑ์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) การสื่อสารการตลาดมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก 1 ด้าน ได้แก่ ด้านการขายโดยบุคคล และมี 4 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการโฆษณา ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการตลาดทางตรง 2) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการวางแผนการท่องเที่ยวล่วงหน้า โดยมากท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการศึกษา โดยใน 1 ปีท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์จำนวน 1–2 ครั้ง มีรูปแบบการท่องเที่ยว คือ มุ่งหาประสบการณ์ และจะใช้เวลาท่องเที่ยวแต่ละครั้ง 2–3 ชั่วโมง และ 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน 3.1) อายุ เพศ สถานภาพ อาชีพ รายได้เฉลี่ยบุคคลต่อเดือน รายได้เฉลี่ยครอบครัวต่อเดือน และที่อยู่ปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร และ 3.2) การสื่อสารการตลาดทุกด้าน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวด้านวัตถุประสงค์หลักของการท่องเที่ยว และจำนวนครั้งของการท่องเที่ยวใน 1 ปี การสื่อสารการตลาดทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวด้านการวางแผนการท่องเที่ยว ยกเว้นการขายโดยบุคคล และการสื่อสารการตลาดด้านการขายโดยบุคคล และการส่งเสริมการขายมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว
ด้านรูปแบบการท่องเที่ยว

References

ชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ. (2559). ปฏิบัติการพิพิธภัณฑ์ : บทเรียนจากคนอื่น. กรุงเทพมหานคร : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ.
ธิติรัฐ ธรรมจง. (2553). การสื่อสารการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : ศึกษาเฉพาะกรณี ตลาดเก่า 119 ปีเจ็ดเสมียน จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์, (2554). แนวคิดการสื่อสารการตลาดในเอกสารการสอนชุดวิชาการสื่อสารการตลาด หน่วยที่ 1, 1-58. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นัฐพร เกิดกลาง, ชมพูนุท โกสลากร เพิ่มพูนวิวัฒน์ และพิศมัย จารุจิตติพันธ์. (2553). พฤติกรรมการท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา.
2(1), 78-88.
นพวรรณ พรมเพ็ญ, (2558). การศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร
ประภาพรรณ ชื่นแขก. (2555). การศึกษารูปแบบกิจกรรมทางการศึกษาของพิพิธภัณฑ์สมเด็จ พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริ จรรยา และคณะ. (2553). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีต่อการเยี่ยมชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี และอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ศิริเพ็ญ เยี่ยมจรรยา. (2555). พฤติกรรมและการตัดสินใจเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ตําหนักสายสุทธานภดลในวังสวนสุนันทาของนักท่องเที่ยวชาวไทยและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Frey, Bruno S. and Meier, Stephan (2003). Pro-social behavior in a nature setting. Journal of Economic Behavior & Organization. 54, 65-88
Heroux, L. and Csipak, J. (2003). “Comparative Marketing Strategies of Campgrounds in Canada and the United States: An Exploratory Study”. Proceedings of the Administrative Sciences Association of Canada 2003 Conference, Tourism and Hospitality Management Division. 24(23), 73-82.
Kai Lin Wu. (2006). What do families with children need from a museum?. Available from http://culturalpolicyjournal.org/past-issues/issue-no-2/dofamilies-need-a-museum
Kelly, L. (2000 – 2004). The Impact of Social Media on Museum Practice. Paper presented at the National Palace Museum. Taipei. 20 October 2009.
Philip Kotler and Kevin Lane Keller. (2006). Marketing Management 12e. New Jersey : Pearson Education.
Wu, Chi-Mei Emily. (2003). An Exploratory Study of Taiwanese Seniors’ Travel Motivations and Travel Behavior. Dissertation. Kansas State University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-09