ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ ในโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วิภาวี เวศย์ชวลิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • บัญชา วงศ์เลิศคุณากร สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ส่วนประสมการตลาด, การตัดสินใจ, โรงภาพยนตร์, ภาพยนตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากรต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลบริเวณใกล้เคียงโรงภาพยนตร์หรือห้างสรรพสินค้าที่มีโรงภาพยนตร์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-25,000 บาท 2) ลักษณะทางประชากรด้านอายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์แตกต่างกัน ส่วนด้านเพศ และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันมีผลต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ ส่วนด้านราคาไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์

References

กระทรวงพาณิชย์. (2559). [ออนไลน์]. ส่วนแบ่งการตลาดโรงภาพยนตร์. สืบค้นจาก http://www.marketinfo.co.th/new60/ index.php/cm104/
จุฑามาศ อมรรัตนศิริกุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงภาพยนตร์เอสเอฟซีเนม่าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชนม์พิชา เตชรัตน์ และศิริชาภรณ์ สิงห์โต. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงภาพยนตร์เอสเอฟซีเนม่า : กรณีศึกษาในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://prezi.com/oa1jooa2sqwg/ presentation/
ชาญวิทย์ พรหมพิทักษ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกชมภาพยนตร์ดิจิทัลในประเทศไทย : กรณีศึกษาโรงภาพยนตร์ระบบมัลติเพล็กซ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นิด้าโพล. (2559) [ออนไลน์]. พฤติกรรมการชมภาพยนตร์. สืบค้นจาก http://www.nidapoll.nida.ac.th/index.php?op=pols-detail&id=477
พีรญา เรืองกิจภิญโญกุล. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกชมภาพยนตร์ในเครือโรงภาพยนตร์
เอส เอฟ. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
พรเทพ เบญญาอภิกุล และวรรณวิภางค์ มานะโชติพงษ์. (2556). การแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมในประเทศไทย : รายงานการวิเคราะห์สภาพการแข่งขันธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน และอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สาริศา เนตริยานนท์. (2555). การศึกษาด้านการบริหารโรงภาพยนตร์สามมติที่มีผลต่อผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนัญญา จันทร์แก้ว. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Brandinside, (2560). [ออนไลน์]. การชมภาพยนตร์ออนไลน์. สืบค้นจาก https://brandinside.asia/vod-war-in-thailand/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-09