กลยุทธ์การตลาดของร้านแก้วเจ้าจอมเบเกอรี่

ผู้แต่ง

  • สุพิชฌา วัฒนะ สาขาวิชาการโฆษณาและสื่อสารการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ประกายกาวิล ศรีจินดา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การตลาด, แก้วเจ้าจอมเบเกอรี่, การสื่อสารการตลาด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis) และกลยุทธ์ด้านส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) ของร้านแก้วเจ้าจอมเบเกอรี่โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก หัวหน้าส่วนงานผลิตอาหารและเบเกอรี่ ร้านแก้วเจ้าจอมเบเกอรี่ และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า สภาวะแวดล้อม
ทางการตลาดของร้านแก้วเจ้าจอมเบเกอรี่มีจุดแข็งอยู่ที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการบริการของพนักงาน จุดอ่อนคือ
ร้านแก้วเจ้าจอมเบเกอรี่ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างของกลุ่มผู้บริโภค ภายนอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในส่วนของกลยุทธ์ด้านส่วนประสมทางการตลาดนั้น กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์พบว่า คุณภาพของเบเกอรี่ร้านแก้วเจ้าจอมเบเกอรี่ จะเน้นการผลิตแบบสดใหม่ทุกวัน โดยไม่นำสินค้าค้างคืนมาขายในวันถัดไป รวมไปถึงความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์ด้านราคา พบว่า มีการกำหนดราคาขนมเริ่มต้นที่ 10 บาท ซึ่งเป็นราคาที่นักศึกษาเอื้อมถึงจับต้องได้ และไม่แพงจนเกินไป กลยุทธ์
ด้านการจัดจำหน่ายพบว่า มีเทคนิคในการอบเบเกอรี่บางส่วนแบบสดๆ ภายในร้าน เพื่อให้มีกลิ่นหอมดึงดูดผู้บริโภค และทำการกระจายจุดจัดจำหน่ายภายในมหาวิทยาลัย จำนวน 6 จุด เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักเรียน นักศึกษา และบุคลากรทั่วไป กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาดพบว่า มีการใช้การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย และการใช้พนักงานขาย เพื่อใช้ในการสื่อสารการตลาดไปยังผู้บริโภคเป้าหมาย

References

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2553). [ออนไลน์]. เครื่องมือการเก็บข้อมูล. สืบค้นจาก http://www.drmanage.com/ index.php?lay=show&ac=article&Id=538654165
นารัก ตันเสนีย. (2550). ปจจัยสวนประสมทางการตลาดที่มีผลตอการเลือกซื้อผลิตภัณฑเบเกอรี่
ในอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม.
ประกายกาวิล ศรีจินดา. (2561). การสื่อสารการตลาดของสถานีโทรทัศน์ดิจิตอลของไทยในระยะเริ่มต้น. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 15(2). 50-60.
ปริตรา จิรกิตยางกูร. (2552) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อผู้บริโภคในการใช้
บริการร้านฝ้ายเบเกอรี่ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฝ่ายธุรกิจผลิตอาหารและเครื่องดื่ม. (2561). [ออนไลน์]. แก้วเจ้าจอมเบเกอรี่. สืบค้นจาก http://www.facebook.com/foodand bevaragessur
พัชรินทร์ สุภาพันธ์, และคณะ (2560). [ออนไลน์]. กลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมสำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/download/.../78456
วิวิศน์ ใจตาบ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่ของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร.
การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศิริรัตน์ เลขไวฑูรย. (2549). ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่ทางอินเทอร์เน็ตของ
ผูบริโภคในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกริก.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮลซิงกิ. (2559). [ออนไลน์]. การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis). สืบค้นจาก http://www.thaiembassy.org/helsinki/th/thai-people/5899
สุชญา อาภาภัทร. (2559) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่แบบ Take Away ของกลุ่มคนทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คระพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนันทา ปิ่นสุวรรณ. (2554). ปัจจัยด้านคุณสมบัติของพนักงานขาย ที่มีผลต่อความพึงพอใจในด้านคุณภาพการให้บริการของพนักงานที่ปรึกษาความงามของผู้ใช้บริการสตรีวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร (กรณีศึกษา เครื่องสำอางพาโยต์). การศึกษาเฉพาะบุคคลบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุภัทรินทร์ รอดแป้น. (2560). รูปแบบกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพร
ยี่ห้อ เดอลีฟ ทานาคา. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรีรัตน์ รัตนวรรณ. (2555). [ออนไลน์]. ประวัติเบเกอรี่. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/ sureeratsrp/pra-wati-be-ke-xri
อัมพร พุ่มจำปา. (2561, 28 มีนาคม). หัวหน้าส่วนงานผลิตอาหารและเบเกอรี่. [บทสัมภาษณ์].
Belle Rakang. (2555). [ออนไลน์]. 3 กิจการทองสวนสุนัน. สืบค้นจาก http://rakang-belle.blogspot.com/2012/02/3.html
Chaiyawat Kho Puttanu. (2555). [ออนไลน์]. การเก็บรวบรวมข้อมูล. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/ posts/203303
Kotler, P. Hermawan,H. Kartajaya, & Setiwa, I. (2010). Marketing 3.0. Arrangement. New Jersey : John Wiley & Sons, Ince.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-09