ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกซื้อลิขสิทธิ์เพลงของนักศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • สมิทธินันท์ ไทยรุ่งโรจน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ, ความพึงพอใจ, ส่วนประสมทางการตลาด, ความไว้วางใจ, ดนตรีออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายในได้แก่ ความไว้วางใจ ความพึงพอใจ และปัจจัยด้านทัศนคติกับการตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์เพลงออนไลน์ และ 2) ความสัมพันธ์ของส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจซื้อลิขสิทธิ์เพลงออนไลน์ โดยใช้วิธีการสุ่มนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา จำนวน 150 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อหาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 35.33 และเพศชาย ร้อยละ 64.67 โดยมี อายุ 21-23 ปี ร้อยละ 60.67 มีรายได้เฉลี่ย 5,001–10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 54.00 ในด้านพฤติกรรมส่วนใหญ่การใช้บริการเนื้อหาดนตรีทางออนไลน์ เดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้บริการครั้งละ 50-100 บาท ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1) ปัจจัยด้านความไว้วางใจและความพึงพอใจ และ ปัจจัยด้านทัศนคติ ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจใช้บริการเพลงออนไลน์ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2) ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการตัดสินใจใช้บริการเพลงออนไลน์ ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงพาณิชย์. (2562). [ออนไลน์]. ความหมายของลิขสิทธิ์. สืบค้นจาก https://www.moc.go.th/index.php/2015-11-04-10-05-18/item/42-282-copy.html

คณะดุริยางค์ศาสตร์. (2559). [ออนไลน์]. การคุ้มครองกฎหมายลิขสิทธิ์เพลง. สืบค้นจาก https://www.music.su.ac.th/wp-content/uploads/2016/04/dip_Manual_Musical.pdf.

ปณชัย อารีเพิ่มพร. (2561). [ออนไลน์]. JOOX เผย ปี 2017 คนไทยฟังเพลงสตรีมมิง 2 พันล้านครั้ง! ตั้งเป้าขยายแพลตฟอร์ม ดันไลฟ์ศิลปิน. สืบค้นจาก https://thestandard.co/joox-turnover-2017/.

ภัทรานิษฐ์ ฉายสุวรรณคีรี. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าในเครือข่ายเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี.

วัชราภรณ์ เจียงของ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์โดยมุ่งเน้นปัจจัยด้านช่องทางการรับสินค้า. มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะโลจิสติกส์.

วิไลวรรณ นวลจันทร์. (2561). [ออนไลน์]. ส่วนประสมทางการตลาด. สืบค้นจาก http://wilanwan.blogspot.com/p/blog-page.html.

All in one academic research. (2561). [ออนไลน์]. ความไว้วางใจ. สืบค้นจาก https://www.facebook. com/permalink.php?id=122049611232698&story_fbid=395063343931322.

Doc Temple สิริวัติ ชนะคุณ. (2561). [ออนไลน์]. ทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อ. สืบค้นจาก https://doctemple.wordpress.com/2017/01/25/ทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจซื้อ/

Faul, F., Erdfelder, E., Buchner, A., & Lang, A. G. (2009). Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods. 41, 1149-1160. doi:10.3758/BRM.41.4.1149

GotoKnow. (2561). [ออนไลน์]. ทฤษฎีความพึงพอใจ. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/492000%20(12

Marketingoops. (2558) Instagram แหล่งที่มาของนักช้อปตัวจริง. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/instagram-users-like-to-shop/.

Thai App Update. (2558). [ออนไลน์]. 4 วิธีฟังเพลงแบบถูกลิขสิทธิ์. สืบค้นจาก https://thaiappupdate.com/2015/04/8140/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26