กลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าของเทศกาลดนตรีบิ๊กเมาน์เท่น มิวสิกเฟสติวัล

ผู้แต่ง

  • ประกายกาวิล ศรีจินดา สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ภูวพงษ์ ภุมราพันธุ์ สาขาวิชาการโฆษณาและสื่อสารการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เจตรินทร์ ยะแสง สาขาวิชาการโฆษณาและสื่อสารการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สณัฌ์คพร จั่นนงเยาว์ สาขาวิชาการโฆษณาและสื่อสารการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นภาภักดิ์ จักษุบท สาขาวิชาการโฆษณาและสื่อสารการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้า, การสื่อสารการตลาด, เทศกาลดนตรี, บิ๊กเมาน์เท่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าของเทศกาลดนตรีบิ๊กเมาน์เท่น มิวสิกเฟสติวัล เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ การวิเคราะห์ตัวบท และการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร โดยวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารตราสินค้า และการสื่อสารการตลาด
ผลการศึกษาพบว่า เทศกาลดนตรีบิ๊กเมาน์เท่น มิวสิกเฟสติวัล มีแนวทางในการสร้างตราสินค้า ประกอบด้วย
การกำหนดตำแหน่งตราสินค้าให้มีความแตกต่างจากตราสินค้าของคู่แข่ง ด้วยการเลือกชื่อและสัญลักษณ์เพื่อที่จะเป็นตัวแทนในการนำเสนอ โดยเลือกใช้ชื่อ “Big Mountain” จากสถานที่ที่ใช้จัดงานเทศกาลที่ “เขาใหญ่” จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนรู้จักงานเทศกาลดนตรีนี้ และการเลือกใช้ “วัว” เป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลดนตรี เนื่องจากผู้จัดงานเชื่อว่าเขาใหญ่ คือ เมืองหลวงของวัวแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการสร้างภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือในตราสินค้าอย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำแนวดนตรีที่หลากหลายมาแสดงในงาน ทำให้เทศกาลดนตรีนี้เป็นเหมือนวัฒนธรรมของคนที่รักดนตรีและเสียงเพลง สามารถเสพแนวดนตรีที่ชอบและไม่สามารถหาจากที่อื่นได้ จนได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องตลอด 10 ปี ในส่วนของรูปแบบการสื่อสารการตลาดของเทศกาลดนตรีบิ๊กเมาน์เท่น มิวสิกเฟสติวัล สรุปได้ว่า มีการดำเนินงานภายใต้แนวคิดการวางแผนการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ ประกอบด้วย การแบ่งส่วนตลาดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค การกำหนดวัตถุประสงค์เน้นถึงพฤติกรรม มากกว่าที่จะใช้เพียงการรับรู้ กลยุทธ์การสื่อสาร เครื่องมือทางการตลาด และการสื่อสารการตลาด

References

นันธิดา รอดสถิตย์. (2555). การสร้างแบรนด์สินค้าเปเปอร์มาเช่ของไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ปฐมาพร เนตินันทน์. (2554). การสังเคราะห์กระบวนการและกลยุทธ์การสร้างตราสินค้า. สืบค้นจาก URL: https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/april_june_11/pdf/aw5.pdf
ประกายกาวิล ศรีจินดา. (2561). การสื่อสารการตลาดของโทรทัศน์ดิจิตอลของไทยในระยะเริ่มต้น. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 15(2), 50-60.
พีระพล พิภวากร. (2552). การศึกษาโครงสร้างตลาด และพฤติกรรมการแข่งขันของธุรกิจการจัดคอนเสิร์ตศิลปินแจ๊สต่างประเทศในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสรี วงษ์มณฑา. (2547). ครบเครื่องเรื่องการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมสาร.
Chris Fill. (2002). Marketing Communications: Contexts, Strategies, and Applications. Financial Time Prentice Hall., New Jersey
Duane E. Knaqq. (2000). The Brand Mindset: Five Essential Strategies for Building Brand Advantage Throughout Your Company. McGraw-Hill Education., New York.
John L. Mariotti. (2000). Smart Things to Know About, Marketing. Capstone. United States.
Paul Temporal. (2002). Advanced Brand Management. Wiley., ‎Hoboken, New Jersey

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-26