กระบวนการถ่ายภาพพาโนรามาช่วงรับแสงสูงเพื่อสร้างระบบนำชม โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง

ผู้แต่ง

  • กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ภาพช่วงรับแสงสูง, ภาพพาโนรามาช่วงรับแสงสูง, ระบบนำชมเสมือนจริง, เทคโนโลยีเสมือนจริง, การประมวลผลภาพดิจิทัล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้กระบวนการถ่ายภาพพาโนรามาช่วงรับแสงสูงเพื่อ สร้างระบบนำชมโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและประสบการณ์ของผู้เขียน ประกอบด้วย 1) องค์ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพและการประมวลผลภาพช่วงรับแสงสูง 2) การถ่ายภาพและประมวลผลภาพพาโนรามา และ 3) การถ่ายภาพและประมวลผลภาพพาโนรามาช่วงรับแสงสูง กระบวนการประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การถ่ายภาพพาโนรามาช่วงรับแสงสูง 2) การรวมภาพช่วงรับแสงสูง 3) การเชื่อมต่อภาพพาโนรามา 4) การปรับแต่งภาพพาโนรามาช่วงรับแสงสูง 5) การนำภาพพาโนรามาช่วงรับแสงสูง ไปใช้กับระบบนำชมโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง และ 6) การเผยแพร่ระบบนำชมโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงโดยกระบวนการเหล่านี้ผู้สร้างจะต้องมีอุปกรณ์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน ระบบนำชมโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงที่มีคุณภาพสูง และสามารถนำไปใช้งานได้ในสื่อภาพดิจิทัล

References

กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. (2562 ก). การประมวลผลภาพ HDR (High Dynamic Range Image). สืบค้นจาก URL : http://touchpoint.in.th/hdr-image/
กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย.. (2562 ข). การประมวลผลภาพพาโนรามา (Panorama Photography) Part 1. สืบค้นจาก URL: http://touchpoint.in.th/panorama-part1
กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย.. (2562 ค). การประมวลผลภาพพาโนรามา (Panorama Photography) Part 2. สืบค้นจาก URL: http://touchpoint.in.th/panorama-part2
กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย.. (2562 ง). ระบบนำทัวร์เสมือนจริง (Virtual Tour: VR Tour). สืบค้นจาก URL: http://touchpoint.in.th/virtual-tour-vr-tour
ดลพร ศรีฟ้า. (2561). การใช้ความจริงเสมือนในพิพิธภัณฑ์ กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 11(2), 2028-2039.
ดุลยเทพ ภัทรโกศล. (2559). การพัฒนาสื่อเรียนรู้เสมือนจริงบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเทคโนโลยีภาพถ่ายพาโนรามา 360 องศา กรณีศึกษา : เว็บไซต์ฐานข้อมูลแหล่งเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม. 3(1), 53-58.
พรพิมล ประพฤติดี. (2562). การนำเสนอเทคโนโลยีเสมือนจริงในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 11(3), 1104-1118.
ไพโรจน์ ไววานิช. (2561). กิจการศึกษาการเติบโตของเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนและความเป็นจริงเสริม กับผลกระทบที่มีต่อเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 5 จี. วารสารวิชาการ กสทช. 3(2018), 153-171.
อาซีซ๊ะ หลงกาสา, ปกรณ์ ปรีชาบูรณะ และศุภลักษณ์ อําลอย. (2558). การถ่ายภาพ HDR เพื่อเพิ่มความเปรียบต่างให้กีบภาพถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 18(3), 248-255
อิญชญา คำภาหล้า และวัลลภ ศรีสำราญ. (2562). การพัฒนาเว็บไซต์สภาพแวดล้อม 360 องศา ส่งเสริมการท่องเที่ยววัดในเขตเมืองเก่านครราชสีมา. Journal of Information Science and Technology (JIST). 9(1), 71-80.
อิทธิพล โพธิพันธุ์. (2560). เทคนิคการถ่ายภาพพาโนรามาแบบต่อเชื่อมภาพ. วารสารวิชาการนิเทศสยามปริทัศน์. 16(20), 84-93.
Jung, J., Lee J., Kim, B. and Lee, S. (2017). “Upright adjustment of 360 spherical panoramas.” 2017 IEEE Virtual Reality (VR). Los Angeles: CA, 251-252.
Huang, K. and Chiang, J.. (2013). “Intelligent exposure determination for high quality HDR image generation.” 2013 IEEE International Conference on Image Processing. Melbourne: VIC, 3201-3205.
Bamodu, O. and Ye, X. (2013). “Virtual Reality and Virtual Reality System Components.” Proceedings of the 2nd International Conference On Systems Engineering and Modeling (ICSEM-13). Available from URL: http://bit.ly/2QwYOmk
Boitard. R., Pourazad, M. T., and Nasiopoulos, P. (2016). “High Dynamic Range versus Standard Dynamic Range compression efficiency.” 2016 Digital Media Industry & Academic Forum (DMIAF). Santorini, 1-5.
Parisi, T. (2015). Learning Virtual Reality. Sebastopol: O, Reilly Media.
Patil, V. P. and Gohatre, U. B. (2017). “Techniques of developing panorama for low light images.” 2017 International Conference on Energy, Communication, Data Analytics and Soft Computing (ICECDS). Chennai, 2547-2552.
Yeh, W. (2014). “High dynamic range intelligent effects.” 2014 International Conference on Machine Learning and Cybernetics. Lanzhou, 481-486.
Zhang, Y., Zhu, Z. and Ma, P. (2017). “Walk through a Museum with Binocular Stereo Effect and Spherical Panorama Views.” 2017 International Conference on Culture and Computing (Culture and Computing). Kyoto, 20-23.
Zhu, Y., Zhai, G., and Min, X. (2018). The prediction of head and eye movement for 360 degree images. Signal Processing: Image Communication, 69, 15-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-26