ช่องทางการสื่อสารการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ ของผู้บริโภคในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ แตงแดง สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • วิมลพรรณ อาภาเวท สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาด, พฤติกรรมการซื้อ, ข้าวอินทรีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อและพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในประเทศไทย 2) ศึกษาช่องทางการสื่อสารการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ จากผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 20–29 ปี เป็นเพศหญิง โสด อาชีพพนักงานเอกชน การศึกษาปริญญาตรี และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,000–30,000 บาท การสื่อสารการตลาด ได้แก่ การขายโดยพนักงาน ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขาย โฆษณา การตลาดทางตรง มีความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยด้านประชากรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในประเทศไทย ยอมรับสมมติฐานจากการทดสอบตัวแปรอายุ สถานภาพ อาชีพ และปฏิเสธสมมติฐานจากการทดสอบตัวแปรเพศ การศึกษา และรายได้ ผลการทดสอบสมมติฐาน ด้านการโฆษณาในนิตยสารและวารสาร พบว่าพฤติกรรมการซื้อมีความสัมพันธ์กับเรื่องความถี่ในการซื้อข้าวอินทรีย์ต่อเดือน ด้านการประชาสัมพันธ์ผ่านงานเกษตรแฟร์ตลาดสินค้าเกษตรชุมชน พบว่าพฤติกรรมการซื้อมีความสัมพันธ์เรื่องเหตุผลในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ มีความสัมพันธ์กับ การขายโดยพนักงานขาย ที่ให้คำแนะนำและสาธิตวิธีการหุงข้าวอินทรีย์อย่างถูกต้อง และให้ข้อมูลคุณลักษณะและความแตกต่างของข้าวอินทรีย์แต่ละประเภท พบว่าพฤติกรรมการซื้อมีความสัมพันธ์ในเรื่องการได้รับข้อมูลข่าวสารของผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ ด้านการส่งเสริมการขาย โปรโมชั่นลดราคา ด้านการตลาดทางตรง การติดต่อลูกค้าผ่านอีเมล พบว่าพฤติกรรมการซื้อมีความสัมพันธ์สถานที่ในการเลือกซื้อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

พวงพรภัสสร์ วิริยะ, สุภาพร ลักษมีธนสาร และปิยะมาศ สุรภพพิสิษฐ์. (2561). ปัจจัยตลาดที่มีอิทธิพลต่อ การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก ข้าวหอมมะลิ (ขนมจีนอบแห้ง). วารสารมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. 23(3), 137-150.
วงศ์พัฒนา ศรีประเสริฐ และรุ่งศักดิ์ วิลามาศ. (2554). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อและ บริโภคข้าวกล้องของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5(3), 137-151.
วรัญญา ทิพย์มณฑา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวสารกล้องบรรจุถุงของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิทยา จารุพงศ์โสภณ. (2556). กลยุทธ์การบริหารแบรนด์ (Strategic Brand Management). กรุงเทพมหานคร: แปลน พริ้นติ้งท์.
สรียา อัชฌาสัย และลักคณา วรศิลป์ชัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวสารบรรจุถุงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 3(2), 22-37.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). ตลาดข้าวอินทรีย์. สืบค้นจาก URL: http://www.organic.moc.go.th/ th/news/สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร-คลอดแผนเจาะตลาดข้าวอินทรีย์.
อนุรักษ์ บูรณะวิริยะกุล. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อข้าวสารบรรจุถุงของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อธิคุณ ชาญศิริวิริยกุล และเหมือนหมาย อภินทนาพงศ์. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องบรรจุถุง. สืบค้นจาก URL: http://www.crdc.kmutt.ac.th/Data%202015/CRDC9/data/305-308.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-20