กลยุทธ์การจัดและส่งเสริมรายการของสถานีวิทยุออนไลน์ กรณีศึกษาแคทเรดิโอ
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การจัดรายการวิทยุ, การส่งเสริมรายการ, สถานีวิทยุออนไลน์, แคทเรดิโอบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการดำเนินงานของสถานีวิทยุกระจายเสียงแฟตเรดิโอ ไปสู่สถานีวิทยุออนไลน์แคท เรดิโอ 2) ศึกษากลยุทธ์การจัดรายการ และการส่งเสริมรายการของสถานีวิทยุออนไลน์แคทเรดิโอ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่นำไปสู่ความอยู่รอดของสถานีวิทยุออนไลน์แคทเรดิโอ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักของสถานีวิทยุกระจายเสียง จำนวน 5 คน ร่วมกับการศึกษาเอกสารและวิเคราะห์การจัดรายการของสถานี ผลวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินงาน และกลยุทธ์การจัดรายการของสถานีออนไลน์แคท เรดิโอ มีรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาในการจัดรายการที่หลากหลายและทิศทางเดียวกันทั้งสถานี มีคาแรกเตอร์ รสนิยม มุมมองในการนำเสนอมากขึ้นผ่านผู้จัดรายการ ซึ่งมีบุคลิกในการจัดรายการที่ต่างกัน โดยเพลงที่เปิดมีทั้งเพลงสากล และเพลงไทย ส่วนใหญ่เน้นเพลงใหม่ที่อยู่นอกกระแสยังไม่เป็นที่รู้จัก?? และต่อยอดพัฒนาให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ฟังในปัจจุบันและเปลี่ยนช่องทางการออกอากาศมาเป็นอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบ 24 ชั่วโมง เพิ่มเนื้อหารายการประเภทพูดคุย (Talk Format) ในช่วงเวลา 21.00–00.00 น. ที่แตกต่างกันออกไปทั้งสัปดาห์เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ โปรแกรมเพลงยังคงเป็นรูปแบบ Contemporary Hit Radio (CHR) เน้นเปิดเพลงดังและเพลงใหม่??ทั้งไทยและสากลและแนะนำเพลงที่ยังไม่เป็นที่รู้จักเพื่อเปิดโอกาสให้กับศิลปินหน้าใหม่ได้มีช่องทางการนำเสนอ ผู้จัดรายการส่วนใหญ่มาจากแฟต เรดิโอ มีฐานแฟนคลับเดิม และยังเพิ่มศิลปิน ดารา นักร้อง ที่รู้จักในกลุ่มวัยรุ่นเพื่อกลุ่มคนฟังใหม่ ผู้ฟังรายการสามารถติดตามฟังได้ทางช่องทางออนไลน์โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ และปัจจัยที่นำไปสู่ความอยู่รอดของสถานีวิทยุออนไลน์ ได้แก่ จุดยืนในการนำเสนอเพลงนอกกระแส รวมถึง ผู้จัดรายการที่หลากหลาย ร่วมด้วย ศิลปิน ดารา นักร้อง ผู้จัดรายการวิทยุรุ่นเก่าและใหม่ และการจัดกิจกรรมพิเศษที่ต่อยอดมาจากสถานีวิทยุกระจายเสียงแฟต เรดิโอ ทำให้มีกลุ่มลูกค้ารายเดิมและรายใหม่ให้การสนับสนุน จนกลายเป็นรายได้หลักของสถานีวิทยุออนไลน์
References
ธารนิธิ พยัคฆราชศักดิ์. (2550). การปรับรูปแบบและเนื้อหารายการวิทยุกระจายเสียงผ่านวิทยุออนไลน์ในเครือบริษัท คลิกเรดิโอ จำกัด. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรจิต สมบัติพานิช. (2547). โฆษณาในทศวรรษที่ 2000-2010 การศึกษาถึงปัจจัยด้านสื่อที่มีต่อรูปแบบโฆษณา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ลดาวัลย์ แก้วสีนวล, (2556). คู่มือดีเจ. นครศรีธรรมราช: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครศรีธรรมราช.
ลดาวัลย์ แก้วสีนวล. (2556). คู่มือดีเจ. นครศรีธรรมราช: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครศรีธรรมราช.
ลักษณา คล้ายแก้ว. (2558). การจัดและส่งเสริมรายการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. ปทุมธานี: คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ศรัญญา รัตนจงกล. (2554). กลยุทธ์การสื่อสารด้านการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ของ ธุรกิจอาคาร ชุด กรณีศึกษา แสนศิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอเชี่ยน พร๊อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอป เม้นท์ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมสุข หินวิมาน. (2557). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
สุมน อยู่สิน. (2556). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดและผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง. เอกสารประกอบการสอน วิชาการจัดและผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเบื้องต้น. นนทบุรี: สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสาวณี ชินนาลอง. (2556). การจัดและการผลิตรายการวิทยุอินเทอร์เน็ต. เอกสารประกอบการสอนวิชาการจัดและผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงเบื้องต้น. นนทบุรี: สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต