ปัจจัยที่ทำให้ไวรัลวิดีโอเพื่อการโฆษณาได้รับความนิยมบนสื่อสังคมออนไลน์

ผู้แต่ง

  • รัญดา พลเยี่ยม วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ลักษณา คล้ายแก้ว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ไวรัลวิดีโอ, สื่อสังคมออนไลน์, การตลาดแบบไวรัล, การโฆษณา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบที่ใช้ในงานโฆษณาผ่านสื่อไวรัลวิดีโอทางสื่อสังคมออนไลน์ และ 2) ปัจจัยที่ทำให้ไวรัลวิดีโอเพื่อการโฆษณาได้รับความนิยมบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหาแหล่งข้อมูลประเภทวิดีโอโฆษณาที่ได้รับความนิยม และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญในวงการโฆษณา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของงานโฆษณาผ่านสื่อไวรัลวิดีโอทางสื่อสังคมออนไลน์ ประกอบด้วย 1) เนื้อหาของไวรัลวิดีโอ ต้องเป็นเนื้อหาด้านบวกเพื่อสร้างภาพลักษณ์ ความทรงจำ และความรู้สึกที่ดีต่อตราสินค้า 2) การสร้างสรรค์และการนำเสนอในรูปแบบมิวสิควิดีโอ 3) การเสนอเรื่องราวโดยใช้วิธีการเล่าเรื่องที่แสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของสินค้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้สินค้า ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบตลกขำขันและเสียงดนตรี 4) การนำบุคคลที่มีชื่อเสียงมาใช้เพื่อสื่อสารเนื้อหาไปยังกลุ่มเป้าหมาย 5) การตั้งชื่อเรื่องที่ดึงดูดความสนใจ จดจำได้ง่าย และ 6) ความยาวของวิดีโอโฆษณามีความเหมาะสมกับเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ ปัจจัยที่ทำให้ไวรัลวิดีโอเพื่อการโฆษณาที่ได้รับความนิยมบนสื่อสังคมออนไลน์ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1.1) ปัจจัยด้านการสร้างสรรค์ไวรัลวิดีโอ ประกอบไปด้วย ปัจจัยด้านเนื้อหา ปัจจัยด้านอารมณ์ ปัจจัยด้านการใช้ผู้มีอิทธิพล 1.2) การเลือกใช้สื่อไวรัลวิดีโอ และ 1.3) การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และ 2) ปัจจัยภายนอกด้านกระแสสังคม ได้แก่ ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลดี (โอกาส) และปัจจัยภายนอกที่ส่งผลเสีย (อุปสรรค)

References

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร. 31(4), 99-103.
พิชญา นิวิตานนท์ และบุหงา ชัยสุวรรณ. (2558). แนวทางการคิดสร้างสรรค์โฆษณาในสื่อดิจิทัล. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า. 1(2), 21-36.
พีรพล กีรติธนากาญจน์. (2553). สื่อนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มาริสา ธีรตยาคีนันท์. (2555). รูปแบบและสารที่ใช้ในการสื่อสารผ่านสื่อสังคมของสินค้าและบริการในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2553). Social Network ตอน Viral Marketing. สืบค้นจาก URL : http://www.vcharkarn.com/varticle/41912.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน). (2560). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
Am2b Marketing. (2562). Viral Marketing คืออะไร การตลาดแบบจู่โจม สไตล์ไวรัส. สืบค้นจาก URL : https://www.am2bmarketing.co.th/content-marketing-article/viral-marketing-influence-marketing-virus-style/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-20