การสื่อสารภาพลักษณ์และการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ของชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
การสื่อสารภาพลักษณ์, การมีส่วนร่วม, การส่งเสริมการท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี และเพื่อศึกษาแนวทางการสื่อสารสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของของชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี ให้เกิดความยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ และมีบทบาทสำคัญกับการสื่อสารภาพลักษณ์ รวมถึงผู้ที่มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี รวมจำนวน 9 คน และการวิเคราะห์เอกสารประกอบการนำเสนอผลการวิจัย โดยผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารภาพลักษณ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรีนั้นมี 5 ประเด็น คือ 1) ภาพลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรม 2) ภาพลักษณ์ด้านศิลปกรรม 3) ภาพลักษณ์ด้านศาสนา 4) ภาพลักษณ์ด้านวัฒนธรรมและประเพณี และ 5) ภาพลักษณ์วิถีชีวิตชุมชน สำหรับปัจจัยส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของชุมชนริมน้ำจันทบูรนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น คือ 1) การมีส่วนร่วมและการสร้างเป้าหมายของชุมชน 2) การกำหนดนโยบายร่วมกันของกลุ่มผู้นำและคนในชุมชน และ 3) ระบบการจัดการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
References
กฤชณัท แสนทวี. (2561). แนวทางการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทยสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7(2), 67-68.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). ตลาดริมน้ำ 100 ปี จันทบูร. กรุงเทพมหานคร: สีสันตะวันออก.
โกมล ดุมลักษณ์. (2558). บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต. Journal of the Association of Researchers. 20(2), 81–93.
ณัฐนันท์ วงษ์ประเสริฐ. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวงานประเพณีรับบัวของอำเภอพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนพล จันทร์เรืองฤทธิ์. (2561). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา ชุมชนริมน้ำจันทบูร จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมและการบริการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศรัญญา เกษร. (2551). ผลกระทบจากการท่องเที่ยวที่มีต่อวิถีชีวิตชุมชนมอญ เกราะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุจิตรา แก้วสีนวล. (ม.ป.ป). การสื่อสารเพื่อการภาพลักษณ์. สืบค้นจาก URL: http://utcc2.utcc.ac.th/localuser/brandthaicenter/Article%20etc/.pdf
Everett M. Rogers. (1995). Diffusion of Innovations. 4th ed. New York: Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต