เรื่องเล่าเชิงประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารของซากเรือจมแก้วสมุทร

ผู้แต่ง

  • กิตติธัช ศรีฟ้า สาขาบริหารศิลปวัฒนธรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภรดี พันธุภากร คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

เรือแก้วสมุทร, เรือจมเพชรบุรีเบรเมน, เรือเพชรบุรี, เรือจม, ประวัติศาสตร์

บทคัดย่อ

        เรือแก้วสมุทร (ชื่อเดิม เรือเพชรบุรี) เป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำในนาม “เรือจมเพชรบุรีเบรเมน” ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบกระเบื้องปูพื้นที่สวยงาม โถส้วม อ่างอาบน้ำขาสิงห์ และอื่นๆ ผ่านการสำรวจและขุดค้นโดยกองโบราณคดีใต้น้ำถึง 3 ครั้ง เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2539 และครั้งสุดท้าย พ.ศ. 2559 โดยทั้ง 3 ครั้งได้ค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มนักวิชาการอิสระได้ทำการสืบค้นประวัติเรือและค้นพบหลักฐานต่างๆ ตั้งแต่การต่อเรือ จวบจนเมื่อเรือจมลง รวมไปถึงเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เรือลำนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการขนคนจีนจากเมืองซัวเถามาเมืองไทย การลักลอบค้าฝิ่นครั้งใหญ่ ความพัวพันกับสงครามโลกครั้งที่สอง รวมไปถึงความเกี่ยวข้องกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ที่ได้เข้าช่วยเหลือลูกเรือในวันที่เรือจมลง บทความนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อให้เผยแพร่เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเรือแก้วสมุทร 2) เพื่อเสนอหลักฐานทางโบราณคดีจากการค้นคว้าเพิ่มเติมจากในอดีต และ 3) เพื่อตั้งข้อสันนิษฐานใหม่เกี่ยวกับประเด็นหน้าที่การขนส่งของเรือ และเส้นทางเดินเรือ โดยทั้ง 3 วัตถุประสงค์มุ่งเน้นให้เห็นคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเรือแก้วสมุทร เนื่องจากเป็นเรือที่จมในทะเล โดยเฉพาะเรือเหล็กเมื่ออยู่ในน้ำเป็นเวลายาวนานจะเกิดการพุพังลงได้ง่าย และในขณะเดียวกันการอนุรักษ์แทบเป็นไปไม่ได้ในประเทศไทย ดังนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านซากเรือจมเป็นอีกหนทางที่จะบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ ก่อนที่จะเป็นความรู้ที่จมหายไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ศึกษาโดยใช้แนวคิดเรื่องการสื่อสารระหว่างบุคคล และรูปแบบการสื่อสารของ David K.Berlo ใช้วิธีการค้นคว้าเอกสาร และการดำสำรวจโดยใช้การสังเกตเป็นแนวทางหลัก ผลการศึกษา พบว่า โบราณสถานใต้ทะเลยังเป็นสิ่งที่กำกวมในเชิงงานอนุรักษ์ เพราะขาดกำลังคน และองค์ความรู้ ขณะที่ซากเรือจมจำนวนมากกลับถูกทอดทิ้งให้ผุพังไปตามกาลเวลากลายเป็นประวัติศาสตร์ที่กำลังสูญหายและจมหายไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ รวมไปถึงแนวทางในการอนุรักษ์นั้นทำได้ยากในประเทศไทย หากแต่การส่งเสริมความทรงจำให้แก่บุคคลนั้นๆ เป็นสิ่งที่จำเป็น โดยต้องสนับสนุนทางเลือกสำหรับการท่องเที่ยว โดยเปิดแนวทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ นั้นคือ “การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ใต้ทะเล” ที่จะส่งผลต่อแรงกระเพื่อมจากส่วนบุคคลในระดับปัจเจกชน โดยอาจเป็นการเรื่องเล่าจากมุมของตนเองบนหลักฐานที่ปรากฏ เรื่องเล่าที่ได้นั้นมีคุณค่าต่อสังคมวงกว้างที่จะนำไปพัฒนาสู่เรื่องเล่าทุติยภูมิในรูปแบบต่างๆ ต่อไป

References

กองโบราณคดีใต้น้ำ กรมศิลปากร. (2559). รายงานเบื้องต้นการสำรวจเรือเพชรบุรีเบรเมน. จันทบุรี: กระทรวงวัฒนธรรม.
กุสุมา รักษมณี และคณะ. (2533). ทฤษฎีการสื่อสาร 1. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
ขจัดภัย บุรุษพัฒน์. (2517). ชาวจีนในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: แพร่พิทยา.
พงศธรณ สุขุม. (7 ธันวาคม 2550). นักวิชาการอิสระเชี่ยวชาญเรือจมในประเทศไทย. สัมภาษณ์.
พิชิต เมืองนาโพธิ์. (7 ธันวาคม 2550). นักวิชาการอิสระเชี่ยวชาญเรือจมในประเทศไทย. สัมภาษณ์.
ภัทรพล สมเหมาะ. (2559). การปฏิบัติต่อเชลยในสยามช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วัชระ ชีวะโกเศรษฐ. (2553). ชีวประวัติ ดร.ซุนยัดเซ็น นักปฏิวัติจีนผู้ยิ่งใหญ่. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.
ปรมะ สตะเวทิน. (2524). หลักนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: รุ่งเรืองสาส์น.
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.6ต.15.2/1 เรื่องรายงานทหารเรือจับคร่าเรือเชลย และยึดเรือ (7 เมษายน 2540-6 สิงหาคม 2460).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.6ต.15.2/2 เรื่อง พระบรมราโชบาย ระบายคนชาติเยอรมัน ออสเตรีย ออกจากราชการ (29 พฤษภาคม 2560-23 กรกฎาคม 2460).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.6ต.15.2/3 เรื่อง รายงานกระทรวงนครบาลจับเชลย และเรือเชลย (4 มิถุนายน-8 ธันวาคม 2460).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.6ต.15.2ก/13 เรื่อง ว่าด้วยสัญญาทรัพย์สมบัติของศัตรูในเขตสัมพันธมิตร (1 พฤศจิกายน 2460-31 ตุลาคม 2461).
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. ร.6 ต.15.2/2 เรื่อง ลายพระหัตถ์กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หัวหิน (29 พฤษภาคม 2460)
Beebe, S. A., Beebe, S. J., & Ivy, D.K. (2001). Communication: Principles for a lifetime. Boston: Allyn & Bacon.
“Kaew Samud’s Stranding.” (January 5, 1921). The Straits Times, 26 and 529.
Norddeutscher Lloyd History of the North German Lloyd Steamship Company of Breme. (1898). North German Lloyd Steamship Company of Bremen. Germany.
Mark Wyman. (1993). Round-trip to America: The Immigrants Return to Europe. New York: Cornell University.
Pastperfectonline. (n.d.) Available from URL: https://hoboken.pastperfectonline.com/webobject/ 6D9E09F2-213F-4C99-B0BB-253260355836.
Wikipedia. (n.d.). Norddeutscher_Lloyd. Available from URL: https://en.wikipedia.org/wiki/ Norddeutscher_Lloyd

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-20