ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตดุสิต

ผู้แต่ง

  • ดวงฤทัย แก้วคำ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • วิมลพรรณ อาภาเวท สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาด, ปัจจัยทางสังคม, การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี, มหาวิทยาลัยในเขตดุสิต

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการสื่อสารการตลาด ปัจจัยทางสังคม และการตัดสินใจเลือก เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะประชากรกับการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับ ปริญญาตรี 3) ศึกษาปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี 4) ศึกษา ปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2558 ของมหาวิทยาลัยในเขตดุสิต จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ สถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.25 ภูมิลำเนาอยู่ใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ร้อยละ 51.75 ผู้ปกครองสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 32.25 ผู้ปกครอง ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 36.50 รายได้ของครอบครัว 15,001–30,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 47.50 2) ปัจจัย การสื่อสารการตลาด ปัจจัยทางสังคมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก นักศึกษามีการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่ออยู่ในระดับ ปานกลาง 3) เพศ ภูมิลำเนา ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง อาชีพของผู้ปกครอง รายได้ของครอบครัวต่อเดือนต่างกัน มีการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อไม่แตกต่างกัน 4) ปัจจัยการสื่อสารการตลาดส่งผลให้การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อเพิ่มขึ้น 5) ปัจจัยทางสังคมด้านกลุ่มอ้างอิง และครอบครัวส่งผลให้การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อเพิ่มขึ้น

References

ธารินี พัชรเจริญพงศ์. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติของ นักเรียนชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นเรนทร์ แก้วใหญ่. (2555). การวิเคราะห์ปัจจัยจูงใจในการเลือกศึกษาต่อของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.
พัชรา ก้อนละตา. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสาขาวิทยาศาสตร์เกษตรของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พัฒน์คณวัชร์ นวมเฟื่อง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อที่วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ. การศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา.
ยงยุทธ ปัญญาพี่. (2550). ปัจจัยจูงใจในการเลือกศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสถานศึกษาเอกชนจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.
วรวิทย์ รุ่งบุญพุฒิวงศ์. (2553). ปัจจัยในการเลือกศึกษาต่อหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิรัช ลภิรัตนกุล. (2546). การประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริจรรยา แก้วสารภูมิ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนักศึกษาในการเลือกศึกษาต่อคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ระดับปริญญาตรี). การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2556). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร : วี.พริ้นท์ (1991).
ศิริวรรณ์ ไชยภักดิ์. (2555). แรงจูงใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในการเลือกศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษาที่รองรับตลาดแรงงานในประชาคมอาเซียน. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สรรชัย ชูชีพ. (2553). ความคิดเห็นของนักศึกษาภาคปกติต่อปัจจัยในการเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ปีการศึกษา 2553. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). [ออนไลน์]. สถิติอุดมศึกษา สารสนเทศอุดมศึกษา นักศึกษารวม. [สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2559]. จาก http://www.info.mua.go.th/information/index.php
สุชาติ เก้าเอี้ยน. (2549). แรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อมรรัตน์ ราชสมบูรณ์. (2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกศึกษาต่อของนักเรียน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประเภทวิชาอุตสาหกรรมโรงเรียนเอกชนอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Andrius Eidimtas. (2014). Factors Influencing School-Leavers Decision to Enrol in Higher Education.Procedia – Social and Behavioral Sciences. 116 (2014) 3983 – 3988.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-26