กลยุทธ์การสื่อสารของบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถยนต์โตโยต้า กรณีศึกษาบริษัทโตโยต้าไทยเย็น จำกัด จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การสื่อสาร, กระบวนการการสื่อสาร, ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบถึงกระบวนการการสื่อสารการตลาดของบริษัทโตโยต้าไทยเย็น จำกัด จังหวัดนครราชสีมา และ 2) ทราบถึงกลยุทธ์การสื่อสารของบริษัทโตโยต้าไทยเย็น จำกัด เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูลในไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายการตลาดบริษัทโตโยต้าไทยเย็น จำกัด ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการการสื่อสารการตลาดได้วางแผนสื่อ (Media Plan) ทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ 1) การทบทวนข้อมูลเบื้องต้นด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจในภาพรวมในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับจังหวัด 2) การกำหนดวัตถุประสงค์การตลาดไตรมาสที่ 4 ปี 2562 เดือนตุลาคมถึงธันวาคม 3 ประการด้วยกัน คือ เพิ่มยอดขายร้อยละ 5 ทั้งรถเก๋งและรถกระบะ และมียอดขายเป็นอันดับ1 จาก 5 ผู้แทนจำหน่าย (Dealer) ในตราสินค้าเดียวกันของจังหวัด กิจกรรมการตลาดต้องสร้างยอดขายไม่ต่ำกว่า 15% ต่อเดือน 3) ระบุกลุ่มเป้าหมาย เป็น 4 กลุ่ม คือ ข้าราชการ พนักงานบริษัท ผู้นำท้องถิ่น และเกษตรกร 4) การผสมผสานสื่อโดยมีการใช้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และ 5) การวางตารางการใช้สื่อ ด้านกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด โดยมีการกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารด้วยการวางแผนปัจจัยด้านผู้รับสาร ด้านการสร้างสรรค์ ด้านประสิทธิภาพ มีกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ คือ การเสริมเพิ่มเติม/สนับสนุน การสร้างข่าวใหม่/การเรียกร้องความสนใจ การผลัก-ดึง-ดัน มีการวางกลยุทธ์ตามระดับของการบริหารงานองค์การ โดยการวางแผนกลยุทธ์ การวางแผนยุทธวิธี การวางแผนปฏิบัติการ และยังมีการจำแนกการวางแผนตามระยะเวลา ได้แก่ การวางแผนระยะยาว การวางแผนระยะกลาง และการวางแผนระยะสั้น แบ่งเป็นแผนแม่บท แผนหน้าที่ และแผนโครงการ
References
พรทิพย์ พิมลสินธุ์. (2552). การบริหารภาพลักษณ์องค์การ ในเอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานประชาสัมพันธ์. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รุจาภา แพ่งเกสร. (2558). การบูรณาการสื่อสารการตลาดดั้งเดิมสู่สื่อการตลาดสมัยใหม่. สืบค้นจากhttp://www.rsu.ac.th/bea/articles/abstract_20160224204855.pdf.
วันวิสาข์ สหัสสานนท์. (2553). กระบวนการสื่อสารและการตัดสินใจริเริ่มกิจการธุรกิจด้านสื่อที่มีเนื้อหาส่งเสริมสังคม. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ แก้วจินดา. (2554). การจัดการงบประมาณและการเงินที่ดี. สืบค้นจาก http://www.gotoknow.org/posts/454369.
ศุภษร พิริยะการสกุล. (2553). กลยุทธ์และกลวิธีการประชาสัมพันธ์ขององค์กรที่ส่งเสริมเศรษฐกิจ.วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Barban, Cristal and Kopec. (1993). Essentials of media planning: A marketing Viewpoint. 6rd ed. Lincolnwood, IL: NTC Business Books.
Lancaster, K. M., and Katz, H. E. (1989). Strategic Media Planning. Linconwood, IL: NTC Business Books.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต