กระบวนการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ภายในโรงเรียนของเด็ก ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา นาราษฎร์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ลักษณา คล้ายแก้ว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

กระบวนการสื่อสาร, เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้, การจัดการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ และศึกษาการจัดการเรียนการสอนของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นการการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสื่อสารของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) ผู้ส่งสารคือ ผู้อำนวยการ และครูผู้สอนหรือครูผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ต้องมีความรู้ความเข้าใจในตัวเด็ก มีเมตตา และเข้าใจวิธีการจัดการเรียนรู้ ทั้งหลักการสอนทั่วไป และหลักการสอนเฉพาะเพื่อให้เด็กได้รับการศึกษาทัดเทียมกับเด็กปกติ 2) สารหรือหลักสูตรและนโยบายที่ใช้สอน รวมถึงแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program : IEP) จะต้องเหมาะสมกับระดับสติปัญญาของเด็ก เน้นความต้องการและความสนใจเฉพาะด้าน มีการวางแผนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กแต่ละคน 3) ช่องทางการส่งสาร คือ สื่อการสอนประเภทต่างๆ อาศัยนวัตกรรม เทคนิค และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประกอบการสอน และ 4) ผู้รับสารคือ ผู้เรียน มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถถอดรหัสจากผู้ส่งสารคือ ครูผู้สอนหรือผู้อำนวยการได้ โดยผู้ส่งสารจะใช้วิธีการวัดผลในรูปแบบต่างๆ ตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล เพื่อประเมินประสิทธิภาพ และการจัดการเรียนการสอนของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ซึ่งมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน เริ่มจาก (1) วิเคราะห์ตัวเด็ก โดยเริ่มสังเกตพฤติกรรมของเด็กก่อน (2) จัดทำหลักสูตรร่วมกับการประชุมของผู้อำนวยการ ครู และผู้ปกครอง (3) ทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) (4) ประชุมและตรวจสอบแผน และ (5) ประเมินผลการสอนตามแผนที่วางเอาไว้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: สยามสปอรต์ ซินดิเคท.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประวีพร พรหมมณี และคณะ. (2554). ความบกพร่องทางการเรียนรู้. สืบค้นจาก URL: http://paweenadewhotmailcom.blogspot.com/2011/11/blog-post_12.html
สาวิตรี รุญเจริญ และเบญจมาภรณ์ ช้อยเครือ. (2548). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีผลต่อการเรียนรู้ด้านความจำของเด็กออทิสติกตามความคิดเห็นของครูผู้สอน. (รายงานวิจัย). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไอลอร์. (2559). สรุปร่างรัฐธรรมนูญ: การศึกษาไม่เป็น "สิทธิ" รัฐต้องจัดเรียนฟรี 12 ปี จากอนุบาล 1 ถึง ม.3. สืบค้นจาก URL: https:///www.ilaw.or.th/node/4209.
Berlo, David K. (1960). The Process of Communication. New York: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-14