การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดเรื่องศิษย์ดีที่ครูภูมิใจ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • พรปรภัสสร ปริญชาญกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ศุภวิชญ์ บุญรัตนานนท์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • คณาวุฒิ ไตรพิพัฒนพงษ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ธีรศักดิ์ พลไทรทอง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์, เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

งานวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาคุณภาพ ประเมินผลการรับรู้ และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดเรื่องศิษย์ดีที่ครูภูมิใจ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา 2)แบบประเมินคุณภาพด้านสื่อ 3)แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 30 คน โดยมาจากการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่เข้าเรียนวิชา ETM 202 โฆษณาและประชาสัมพันธ์และยินดีตอบแบบสอบถาม ผลการพัฒนาได้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดเรื่อง ศิษย์ดีที่ครูภูมิใจคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีจำนวน 130 หน้า ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x} =5.00, S.D.=0.00) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่ออยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}=5.00, S.D.=0.00) ผลการประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =4.48, S.D.=0.66)และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด(gif.latex?\bar{x} =4.54, S.D.=0.60) ดังนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีการพัฒนาขึ้นนั้นมีคุณภาพและสามารถน าไปใช้ได้จริง

References

กนกทรัพย์ หลงประดิษฐ์ (2560). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหมู่ 3 บางมด เรื่องการส่งเสริมวิสาหกิจท่องเที่ยวเชิงเกษตรผ่านการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
นรภัทร สุขเกษม และคณะ (2560). การผลิตสื่อโมชันกราฟิกสาธิตการใช้เครื่องอัลตราซาวด์สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ สถาบันราชประชาสมาสัย. โครงงานศึกษาเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
พัชรพล น้อยเมืองคุณ (2555). โซเชี่ยว เน็ตเวิร์ค. สืบค้นจาก URL: http://patcharapol011.blogspot.com/ 2012/09/blog-post.html.
ภควัต รักศรี (2553). เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด. สืบค้นจากจาก URL: http://news.siamphone.com/news-17497.html.
วรดา นาคเกษม (2554). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อประสม เรื่องกระบวนการงานก่อนผลิตสื่อ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงศึกษาธิการ (2553). ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นจากจาก URL: http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?News ID=16352&Key=news15.
Sawitree.5340203051. (2555). e-Book (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์). สืบค้นจาก URL: http://sawitree--sararat.blogspot.com/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-14