การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม ในรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน เรื่องศิลาจารึกหลักที่ 1 เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

ผู้แต่ง

  • พิษณุ จงเจริญ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฐพล รำไพ สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

สื่อการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย, เทคโนโลยีความจริงเสริม, ความสามารถในการเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาความสามารถในการเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัลในรายวิชาภาษาไทย เรื่องศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่เรียนผ่านเทคโนโลยีความจริงเสริม 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของสื่อการเรียนรู้ และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากเลือกห้อง ห้องที่เป็นกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนห้อง ม.2/8 จำนวน 40 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม แบบประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความรู้แบบวัดความสามารถในการนำเสนอของผู้เรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจ และประมวลผลทางสถิติด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปผลการศึกษาพบว่า 1) สื่อการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก มีผลการหาประสิทธิภาพได้ผลเท่ากับ 82.87/89.00 ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้คือ 80/80 2) ความสามารถในการเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัลมีผลประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไป ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียน สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 4) ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของสื่อการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.82 แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 82.00 และ 5)นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} =4.80,S.D.=0.30)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ชัยอนันต์ สาขะจันทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความจริงเสริม เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติและความคงทนทางการเรียน สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ณัฐพล รำไพ. (2561). นวัตกรรม ฉบับนักเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิสต้า อินเตอร์ปริ้นท์.
นิพนธ์ บริเวธานันท์. (2552). Augmented Reality เมื่อโลกความจริงผนวกเข้ากับโลกเสมือน. สืบค้นจาก URL: http://www.ebooks.in.th/30348/Augmented_Reality.
ปริญญา ขัติยนนท์ และสุวิชัย พรรษา. (2561). รูปแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ เรื่อง บรรยากาศโลก เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็ก ภาพการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. มหาสารคาม: คณะวิทยาการสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เปรื่อง กุมุท. (2519). การวิจัยสื่อการสอนและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
เผชิญ กิจระการ. (2546). ดัชนีประสิทธิผล. เอกสารประกอบการสอน, มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิชญ์สินี พุทธิทวีศรี, วรรณพรรธน์ ริมผดี และดลใจ ฆารเรือง. (2560). นวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง 3 มิติเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะรัตนโกสินทร์อย่างยั่งยืน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
พีรทัตต์ ภูริปัญญาคุณ. (2557). นวัตกรรมสื่อการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้การเล่าเรื่องแบบดิจิทัลสามมิติ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์และสังคม วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนิอ.
สิริวัจนา แก้วผนึก. (2560). รูปแบบการพัฒนามรดกดิจิทัลด้วยกระบวนการเล่าเรื่องแบบดิจิทัลแบบสืบสอบอย่างมีวิจารณญาณบนเว็บ 3.0 เพื่อส่งเสริมการรู้ดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาสารสนเทศศาสตร์ปริญญาบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิรักษ์ สุโส. (2559). การพัฒนาหนังสือเรียนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสมือนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. การศึกษาอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Bernard Ross Robin and McNeil. (2012). What Educators Should Know about Teaching Digital Storytelling. Texas: University of Houston.
Cagdas Erbas and Veysel Demirer. (2019). The effects of augmented reality on students' academic achievement and motivation in a biology courset. Available from URL: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/jcal.12350.
Khalifa, A. R. (2015). E-Learnine and Semantic Web. International Journal of Intelligent Information Systems. 4(5), 84-94.
Rui, L., and Maode, D. (2012). A Research on E- learning Resources Construction Based on Semantic Web. Physics Procedio, 25, 1715 1719.
Y.H. Hung, C.H. Chen and S.W. Huang. (2016). Applying augmented reality to enhance learning: a study of different teaching materials. Available from URL: https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/jcal.12173,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-14