การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการยอมรับ การใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค

ผู้แต่ง

  • สราวุธ บูรพาพัธ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธาตรี ใต้ฟ้าพูล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการยอมรับ, การใช้สารกำจัดวัชพืช, พาราควอต, เกษตรกร, ผู้บริโภค

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค 2) ศึกษาความแตกต่างทางลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค และ 4) ศึกษาปัจจัยที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตได้ระหว่างปัจจัยการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และทัศนคติ โดยใช้แบบสอบถามสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรและผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 400 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวม กลุ่มตัวอย่างเกษตรกร และกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคมีการเปิดรับความข่าวสารในระดับต่ำมาก มีความรู้ในเรื่องดังกล่าวระดับปานกลาง มีทัศนคติเป็นกลาง และพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภคตั้งใจที่จะทำ โดย 2) ลักษณะทางประชากรด้านอาชีพที่แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตแตกต่างกัน 3) การเปิดรับข่าวสารไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทัศนคติแต่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค และความรู้มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค เช่นเดียวกับทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค รวมทั้ง การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลางต่อพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตของเกษตรกรและผู้บริโภค มีอิทธิพลร้อยละ 29.20 และ 4) ปัจจัยที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการยอมรับการใช้สารกำจัดวัชพืชพาราควอตได้ดีที่สุด คือ ทัศนคติ

References

ฐัทธนา แสงอร่าม. (2542). การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับ "โครงการน้ำประปาดื่มได้" ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคน ้าดื่มของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดารณี พานทอง. (2542). ทฤษฎีจูงใจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2561). การใช้แบบจำลอง KAP กับการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ของคนประจ าเรือไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. 8(2), 84-102.

เบญญาดา ศัลยพงษ์.(2551). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการยอมรับกฎหมายห้ามสูบบุหรี่ ในสถานที่เที่ยวกลางคืนของนักเที่ยว.วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). หลักนิเทศศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

ประพิมพร หิรัญพฤกษ์.(2546). การเปรียบเทียบการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคซาร์สของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). Reliability of Questionnaire inQuantitative Research: ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในการวิจัยเชิงปริมาณ. วารสารปาริชาต.27(1), 144-163.

ยกเลิกใช้สารก้าจัดศัตรูพืช 2 ชนิด.(วันที่ 6 เมษายน2560). มติชน,12.

รังสิต สุวรรณมรรคา. (2559). พาราควอตกับสิ่งแวดล้อม. สืบค้นจาก URL: http://www.weedthailand.org/upload/files/activity-paraquote01.pdf

รังสิต สุวรรณมรรคา. (2561). การใช้ประโยชน์จากสารกำจัดวัชพืช. กรุงเทพมหานคร: สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย.

สมชัย บวรกิตติ. (2561). สนทนาพาราควอต. ธรรมศาสตร์เวชสาร.18(3), 469-470.

สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. (2562). ข้อมูลสถิติวัตถุอันตราย. สืบค้นจากURL: http://www.doa.go.th/ard/?page_id=386.

สำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3. (2562). การใช้สารก้าจัดวัชพืช พาราควอตและไกลโฟเซต อย่างถูกต้อง.สืบค้นจาก URL: http://oard3.doa.go.th/agrilaw/paraquat%20_glyphosate%20-completed-k.pdf.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). สำมะโนประชากรและเคหะ. สืบค้นจาก URL: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/pop/สำมะโนประชากร.aspx.

สุดาวรรณ ขันธมิตร. (2538). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติในภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรัตน์ ตรีสุกล.(2531). การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารความรู้ ทัศนคติ และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานของเกษตรกรที่เป็นสมาชิก และไม่เป็นสมาชิกโครงการพยากรณ์ และเตือนการระบาดศัตรูข้าว จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุทุมพร นำเจริญวุฒิ. (2553). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการบริจาคเลือดสุนัข.วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Assael, H. (1998). Consumer behavior and marketing action. 6th ed. Singapore: South-Western College Publishing.

Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of educational objectives. Michigan: David Mckay Company.

DeFleur, M. L. (1966). Theories of mass communication. New York: McKay.

Hawkins, D. I., Best, R. J., & Coney, K. A. (2001). Consumer behavior: building marketing strategy. 8th ed. Boston: Inwin/McGraw-Hill.

Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. 1st ed. New York: The Free Press.

Rogers, E. M. (1973). Communication strategies for family planning. 1st ed. New York: The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-10