อิทธิพลของผู้นำทางความคิดในเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อการเปิดรับ การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น

ผู้แต่ง

  • ธีรนุช มนัสกิตติกุล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธาตรี ใต้ฟ้าพูล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดรับ การรับรู้ และทัศนคติที่มีต่อผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่นในเครือข่ายสังคมออนไลน์ และการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น 2) ศึกษาความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับ การรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่นในเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ 3) ศึกษาปัจจัยด้านการเปิดรับ การรับรู้ และทัศนคติต่อผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ในการทำนายการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการวิจัยแบบสำรวจด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบ แบบสอบถามทางออนไลน์จากกลุ่มตัวอย่าง โดยต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเคยเปิดรับข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กเพจหรืออินสตาแกรม ของผู้นำทางความคิด จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า เพศชายมีการเปิดรับจากผู้นำความคิดมากกว่าเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุมากมีการรับรู้มากกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อย กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีการรับรู้เนื้อหามากกว่าคนที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี เพศหญิงมีทัศนคติที่ดีต่อผู้นำทางความคิดมากกว่าเพศชาย แต่ในขณะเดียวกันเพศชายมีทัศนคติที่มีต่อเนื้อหาสารเชิงบวกมากกว่าเพศหญิง และปัจจัยการเปิดรับ การรับรู้ และทัศนคติ สามารถทำนายพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อวัตถุมงคลรูปแบบตะกรุดสายแฟชั่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ปิยะนันท์ บุญณะโยไทย (2556). การรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคมีต่อสื่อกิจกรรมการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด มหาชน. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ถวัลรัตน์ กัลชาญกิจ. (2558). บุคลิกภาพผู้บริโภค ความเชื่อโชคลางและพฤติกรรมการซื้อเครื่องประดับหินสีมงคล. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชชากร พุ่มพยุง และธาตรี ใต้ฟ้าพูล. (2561). อิทธิพลของผู้น าความคิดในเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่อการรับรู้ ทัศนคติและการตัดสินใจใช้บริการด้านสุขภาพจิต. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรพงษ์ กงเวียน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรสาครในการบูชาวัตถุมงคล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกจิมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วีรินทร์ วีระวรรณ (2560). อิทธิพลของการสื่อสารการตลาดผ่านไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์ของสภาบันการเงินและการธนาคารต่อทัศนคติและการตัดสินใจเลือกใช้บริการของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระเครื่องตั้มศรีวิชัย. (2563). เครื่องรางของขลัง. สืบค้นจาก URL: https://www.tumsrivichai.com/index.php.

Gladwell, M. (2000).The profile of the few: Connectors, market mavens, and salespeople.Boston: Little, Brown and Company.

Kotler, P. (2003). Marketing management. 11th ed. New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-10