การรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคต่อการสื่อสารโดยใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของ ธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ

ผู้แต่ง

  • พีรพัฒน์ นฤนาทวานิช คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธาตรี ใต้ฟ้าพูล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การรับรู้, ทัศนคติ, การตัดสินใจซื้อ, ฐานข้อมูลขนาดใหญ่, โซเชียลคอมเมิร์ซ

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคต่อการสื่อสารโดยการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซ และศึกษาปัจจัยการรับรู้ และศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคต่อการสื่อสารโดยการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของธุรกิจในสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการวิจัยแบบสำรวจในรูปแบบสอบถามทางออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และเคยซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการผ่านช่องทางธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซอย่างน้อย 1 ครั้ง จำนวน 400 คน ผลของการศึกษานี้ พบว่า ความแตกต่างทางด้านลักษณะประชากรมีการรับรู้ และทัศนคติต่อการสื่อสารโดยใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซไม่แตกต่างกัน แต่ต่างกับการตัดสินใจซื้อที่ เพศหญิงมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าจากโซเชียลคอมเมิร์ซมากที่สุด เพราะเนื่องจากปัจจัยด้านความซับซ้อนในการซื้อขายสินค้าและบริการที่ง่ายต่อการใช้บริการ โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับราคา และกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อที่แตกต่างกัน ซึ่งยังพบอีกว่า พนักงานบริษัทมีการให้ความสำคัญกับปัจจัยการตัดสินใจซื้อด้านต่างๆ มากกว่ากลุ่มอื่นๆ ด้วยเหตุผลทางด้านความคิด รายรับรายจ่าย และสถานภาพทางสังคม ส่งผลมายังรายได้เฉลี่ยต่อเดือนให้มีความแตกต่างกันในด้านของการตัดสินใจซื้ออีกด้วย และปัจจัยด้านการรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภคสามารถทำนายการตัดสินใจซื้อผ่านช่องทางธุรกิจโซเชียลคอมเมิร์ซ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กมลพัชร ยะรังสี. (2555). กลยุทธ์การสื่อสารผ่านผู้นำทางความคิดในสื่อสังคมออนไลน์ของ บริษัทอดิดาส (ประเทศไทย) จำกัด. JC Journal, 4(3), 35-47.

วรทิตา ไกรเทพ (2556) การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการใช้บริการตลาดเสมือน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรพรรณ เรืองโชติช่วง. (2559). การเปิดรับสื่อสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารคลีนของคนไทยในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ คณะนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มานิตย์ แก้วมา. (2555). การรับรู้การสื่อสารการตลาดและการรับรู้ภาพลักษณ์ของรถยนต์ยี่ห้อฟอร์ดโฟกัสของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2563). ETDA ถอดบทเรียน Future Economy and Internet Governance. สืบค้นจาก URL: https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/knowledge-sharing/articles/ETDA-Future-Economy-and-Internet-Governance.aspx.

อรรถรณ บาหยัน. (2554). ประสิทธิผลการสื่อสารของแฟนเพจรีวิวภาพยนตร์บนสื่อเฟซบุ๊ก. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Assael, H. (2004). Consumer Behavior : A Strategic Approach. New York: Houghton Mifflin.

Berrier, M. (2015) Personalized Marketing. Minneapolis, MN: Walden University.

Czarniewsky, S. (2015). Mechanisms for the creation of innovation in contemporary business and economy. International Journal of Academic Research in Accounting, Finance and Management Sciences, 5(1), 33-38.

Hanna, N., and Wozmiak, R. (2001). Consumer behavior and applied approach. Upper Saddle River. New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, P., and Keller, K.L. (2012). Marketing Management. 14th ed. USA: Prentice Hall.

Ritter, S., Sinatra, A. M., and Fancsali. (2014). Personalised Marketing: Concepts and Framework., 54(4), 370-377.

Russom, P., (2016). Data Warehouse Modernization, 12-14. Available from URL: http://cdn.techhound.net/wp/60138.

Smith, N. M., and Hutchins, W. (2011). U.S. Patent Application No. 12/849,690.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-10