การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการพัสดุ ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ, ฐานข้อมูล, การจัดการพัสดุ, ระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการพัสดุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานพัสดุของภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) ออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการพัสดุของภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้มีคุณภาพเหมาะสม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการพัสดุของภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบระบบ ด้านเนื้อหา และด้านวัดและประเมินผล จำนวนรวม 9 คน และ 2) อาจารย์และบุคลากรในภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา จำนวนรวม 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินคุณภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) มีปัญหามากในการเบิกจ่ายพัสดุที่ล่าช้า และต้องใช้เวลานานในการตรวจสอบพัสดุคงเหลือ ส่วนความต้องการคือ ต้องการทราบจำนวนพัสดุคงเหลือและระบบที่ใช้งานง่าย 2) ระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการพัสดุที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (=4.44, S.D.=0.56) และ 3) ความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดการพัสดุในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=4.46, S.D.=0.61)
References
เจษฎา เปาจีน. (2561). การประยุกต์ใช้คิวอาร์โค้ดในการจัดเก็บข้อมูลครุภัณฑ์ออนไลน์ของคณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2553). การจัดการสำนักงาน. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.
พนิดา พานิชกุล และณัฐพงษ์ วารีประเสริฐ. (2552). การออกแบบ พัฒนา และดูแลระบบฐานข้อมูล (Database Systems-Design, Development and Management). กรุงเทพมหานคร: เคทีพี.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2561).แผนยุทธศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์ ระยะ 5 ปี ปีงบประมาณ 2561-2565. สืบค้นจาก URL: http://edu2.ku.ac.th/2018/plan58.php.
_______. (2562). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะ 10 ปี (พ.ศ.2556- 2565). สืบค้นจาก URL: http://www.planning.ku.ac.th/planning/index.
_______. (2563). แผนปฏิบัติการ 5 ปี (พ.ศ. 2561 – 2565). สืบค้นจาก URL: http://www.ku.ac.th/ th/operation-plan-and-action-plan-of-ku/.
สุจิตรา อดุลย์เกษม และวรัฐา นพพรเจริญกุล. (2560). การจัดการฐานข้อมูล(ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร: ท้อป.
สุรเชษฐ์ มหามนต์ และ อรรถกร เก่งพล. (2561). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดเก็บวัสดุคงคลัง หน่วยงานวิศวกรรมซ่อมบำรุงกรณีศึกษาโรงงานผลิตตัดเหล็กม้วน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 28(3), 547-555.
สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. (2552). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการสำหรับครูอาชีวศึกษา. (เอกสารประกอบการสอน). กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชัน.
R.Arthika. (2018). Inventory Management System. Available form URL: http://www.docsity.com/ en/inventory-management-system- 2/2462777/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต