การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางการศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษา ที่เอื้อต่อการเป็นสังคมการเรียนรู้ดิจิทัล
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, สภาพแวดล้อมสถานศึกษา, การบริหารสถานศึกษา, อาชีวศึกษา, สังคมการเรียนรู้ดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบของแบบจำลองการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางการศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาที่เอื้อต่อการเป็นสังคมการเรียนรู้ดิจิทัล และประเมินความเหมาะสมของการจัดสภาพแวดล้อมการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่การเป็นสังคมการเรียนรู้ดิจิทัล ผู้วิจัยได้ใช้หลักการออกแบบเชิงระบบ (System Approve) ในการออกแบบแบบจำลองการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางการศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาที่เอื้อต่อการเป็นสังคมการเรียนรู้ดิจิทัล เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินแบบจำลอง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากข้อมูลด้วยเทคนิคเดลฟาย จากกลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา จำนวน 13 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของแบบจำลองการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางการศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาที่เอื้อต่อการเป็นสังคมการเรียนรู้ดิจิทัล ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก และ 26 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1) สภาพแวดล้อมสถานศึกษาอาชีวศึกษา 2) การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา 3) แนวคิดการบริหารองค์กรแบบ OKRs 4) กระบวนการเรียนรู้ของคนในองค์กร (Infinite Learning System) 5) การรู้ดิจิทัล และ 6) เทคโนโลยีดิจิทัล ผลการประเมินแบบจำลองการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมทางการศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาที่เอื้อต่อการเป็นสังคมการเรียนรู้ดิจิทัล ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้อำนวยการวิทยาลัย สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 13 ท่าน พบว่า ในภาพรวมความเหมาะสมขององค์ประกอบแบบจำลองการบริหารสถานศึกษาฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.69, S.D. = 0.48) ภาพรวมความเป็นไปได้ขององค์ประกอบแบบจำลองการบริหารสถานศึกษาฯ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.62, S.D.=0.51)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. สืบค้นจาก URL: http://www.nykpeo.moe.go.th/images/Laws/ngpj2682hza.pdf.
กอบสุข คงมนัส. (2561). เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้: วิถีแห่งการศึกษายุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20(4), 279-290.
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2555). เทคโนโลยีการศึกษาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
เจษฎา สุขทิศ. (2561). ขับเคลื่อนองค์กรอย่างมีพลังด้วย OKR. สืบค้นจาก URL: https://blog.finnomena.com/ขับเคลื่อนองค์กรอย่างมีพลังด้วย -okr-e17c2a65459.
______. (2561). สร้างผลลัพธ์องค์กรในยุคดิจิทัล: กรณีศึกษา Apple. สืบค้นจาก URL: https://www.finnomena.com/fundtalk/apple-okr.
ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2560). การสร้างและการพัฒนาโมเดล/รูปแบบ/แบบจําลอง/ตัวแบบ การสร้างและการพัฒนาโมเดล/รูปแบบ/แบบจำลอง/ตัวแบบ Creating and Developing Model. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 9(1), 1-11.
ธงชัย สมบูรณ์ (2560). โลกหลังยุคใหม่ อนาคตทางการศึกษาและปัญญาของชาติ. สืบค้นจาก URL: https://www.matichon.co.th/columnists/news_783896.
บวร เทศารินทร์. (2560). ประเทศไทย 4.0 โมเดลเศรษฐกิจใหม่. สืบค้นจาก URL: http://www.drborworn.com/articledetail.asp?id=16223.
พิเชศ รุ่งสว่าง และคณะ (2556) การพัฒนารูปแบบกากรประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 36(2), 64-73.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ตถาตา พับลิเคชั่น.
สาโรจ เลาหศิริ. (2560). 5 ยุคสมัยของดิจิทัล ประเทศไทยอยู่ไหน ต่างประเทศอยู่ไหน. สืบค้นจาก URL: https://positioningmag.com/1114251.
สำนักงาน ก.พ. (2563). Digital literacy คืออะไร. สืบค้นจาก URL: https://www.ocsc.go.th/ DLProject/mean-dlp.
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน). (2561). Digi Learn is Now. สืบค้นจาก URL: https://www.okmd.or.th/upload/pdf/2560/the%20opportunity%20by%20okmd/Booklet_DigiLearn-is-%20Now.pdf.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2538). ความคิดและภูมิปัญญาไทย : ด้านการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต