การสื่อสารเพื่อต่อรองอำนาจผ่านสื่อขบวนพาเหรดล้อการเมืองงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ในยุครัฐบาล คสช.

ผู้แต่ง

  • เกียรติศักดิ์ อ้นบุตร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ล้อการเมือง, ต่อรองอำนาจ, สื่อทางเลือก, รัฐบาล, คสช.

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการสื่อสารเพื่อต่อรองอำนาจกับรัฐของสื่อขบวนพาเหรดล้อการเมืองงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ในยุครัฐบาล คสช. ดำเนินการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาการนำเสนอผ่านกลุ่มตัวอย่างของหุ่นในกิจกรรมขบวนพาเหรดล้อการเมืองของขบวนสะท้อนสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและขบวนกลุ่มอิสระล้อการเมืองมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่าง พ.ศ.2558-2562 รวมทั้งเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการ เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการสื่อสารที่เกิดขึ้น ในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการดำเนินกิจกรรม ผลจากการวิจัยพบว่า ในช่วงก่อนกิจกรรมขบวนพาเหรดมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสาร และกำกับควบคุมความหมายอยู่ 3 ลักษณะ คือ ลักษณะโครงสร้างองค์กร การคัดเลือกประเด็น และการกำกับดูแล ขณะที่ในช่วงระหว่างกิจกรรมพบว่า นิสิตและนักศึกษาใช้กลวิธีการสื่อสารเพื่อต่อรองอำนาจของหุ่นแต่ละตัว ผ่าน 8 กลวิธีหลัก คือ การเชื่อมความหมาย การเล่นคำเล่นสำนวน ใช้ภาษาเสียดสี ใช้สัญลักษณ์ การรื้อสร้างความหมาย การเชื่อมโยงหรือประสมประสาน การใช้สัมพันธบท และใช้กลอนหรือคำขวัญ ซึ่งเป็นกลวิธีที่นิสิตและนักศึกษาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเพื่อต่อต้าน และต่อรอง ขณะที่การรับช่วงต่อเพื่อนำเสนอในสื่อสังคมออนไลน์มีการขยายประเด็นต่อในช่วงหลังกิจกรรม มากกว่าการนำเสนอในสื่อมวลชนกระแสหลักที่รายงานสถานการณ์เท่านั้น และพบว่าสื่อขบวนพาเหรดล้อการเมืองมีบทบาทหน้าที่ของความเป็นสื่อทางเลือกในการสื่อสารและวิจารณ์การเมือง ก็ยังเป็นพื้นที่การสื่อสารสำคัญในการจำลองรูปแบบของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของนิสิตและนักศึกษา

References

กานดา สุขเกษม. (2546). วาทกรรมเชิงวิพากษ์ในรายการ "รัฐบานหุ่น" ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา แก้วเทพ. (2557). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2545). สื่อบันเทิงอำนาจแห่งความไร้สาระ. กรุงเทพมหานคร: ออลอเบ้าท์พริ้นท์.

กิตติพงษ์ ราชเกษร. (2558). การสื่อสารอัตลักษณ์ทางการเมือง ของวัยรุ่นบน FACEBOOK. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชนกนันท์ เสรีธรรมาชน. (2561). รูปแบบการสื่อสารในกระบวนการปรับทัศนคติของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.). วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รุจน์ โกมลบุตร. (2558). การนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวกับประเทศไทยที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ศึกษากรณีหนังสือพิมพ์ประชาชน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วชิรวิทย์ คงคาลัย. (27 มิถุนายน 2563). อดีตนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และประธานกลุ่มอิสระล้อการเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สัมภาษณ์.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์. (2536). อารมณ์ขันในสื่อมวลชน. กรุงเทพมหานคร: เอ ที พี เพลส.

ไอลอว์. (22 มกราคม 2561). รู้หรือไม่? มีประกาศ คสช. แบบนี้คอยคุมสื่อด้วย. สืบค้นจาก URL: https://ilaw.or.th/node/4725.

ไอลอว์. (23 มิถุนายน 2563). 88 ปี อภิวัฒน์สยาม: หลักการจากรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่ยังเหลือสู่ฉบับปัจจุบัน. สืบค้นจาก URL: https://www.ilaw.or.th/node/3679.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-10