การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษาจำแนกตามสาขาวิชา ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
คำสำคัญ:
การเปรียบเทียบ , ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย , สาขาวิชา, คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษาจำแนกตามสาขาวิชาของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นการศึกษาย้อนหลัง ระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1-4 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่ลงทะเบียนเรียน ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการคำนวณ และทำการสุ่มแบบง่ายโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อสุ่มตัวอย่าง จำนวน 550 คน โดยทำการรวบรวมข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยทุกภาคการศึกษาของนักศึกษา และคำนวณค่าระดับคะแนนต่อหน่วยกิตในระดับคะแนนต่างๆ ที่นักศึกษาได้ในแต่ละรายวิชา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าน้อยที่สุด และค่ามากที่สุด รวมถึงการวิเคราะห์ความความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้สถิติ Welch Test และใช้วิธีทดสอบแบบ Games-Howell เนื่องจากพบความแปรปรวนระหว่างกลุ่มแตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยระหว่าง 2.94 ถึง 3.31 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ 1.60 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยมากที่สุดคือ 3.98 ผลการทดสอบข้อตกลงเบื้องต้นเรื่องความเท่ากันของความแปรปรวนระหว่างกลุ่มของตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษาด้วยสถิติ Levene’s Test of Homogeneity of Variances พบว่า ค่า p < .01 แสดงว่า ความแปรปรวนจากประชากรระหว่างกลุ่ม ทั้ง 5 กลุ่ม แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ .01 จึงทำการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ Welch Test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษาในสาขาวิชาอย่างน้อยหนึ่งสาขาวิชา ที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย ดังนั้น จึงทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณ โดยใช้วิธีทดสอบแบบ Games-Howell พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยของนักศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง สาขาวิชาครีเอทีฟมีเดียเทคโนโลยี และสาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน อย่างมีนัยสำคัญที่ .01
References
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (2563). รายงานผลการดำเนินงานหลักสูตร (มคอ.7) คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน ประจำปีการศึกษา 2563. กรุงเทพมหานคร: คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2564). หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก URL: https://www.rmutp.ac.th/web2561/wp-content/uploads/2019/02/ทล.บ.-เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน-ปรับปรุง-2560.pdf
ปริญญา สิริอัตตะกุล. (2555). การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว: การวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 1(1), 13-23.
มยุรี สุทธิเลิศอรุณ. (2529). การเปรียบเทียบลักษณะนิสิตจำแนกตามสาขาวิชา การศึกษาเฉพาะกรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2565). การวัดและประเมินผล. สืบค้นจาก URL: https://www.rmutp.ac.th/web2553/การวัดและประเมินผล/.
ราชพร บำรุงศรี. (2535). การวิเคราะห์แบบการเรียนของนิสิตนักศึกษาต่างสาขาวิชา ตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ละอองทิพย์ เหมะ. (2532). การเปรียบเทียบลักษณะนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำแนกตามสาขาวิชา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2525). การบริหารงานบุคลากรนิสิตนักศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2528). งานบุคลากรนิสิตนักศึกษากับการพัฒนาเยาวชน. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2526). หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ค.016. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2565). ระบบบริการการศึกษา. สืบค้นจาก URL: https://reg.rmutp.ac.th/.
สุทธนู ศรีไสย์. (2528). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต 4 ปี พ.ศ. 2520 (2520-2527). รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kim, Y., and Lee, S. (2015). Effect of Satisfaction in Major at University on Academic Achievement among Physical Therapy Students. Journal of Physical Therapy Science. 27(2), 405-409. doi: 10.1589/jpts.27.405
Kolb, D.A. (1976). Learning Style Inventory: Technical Manual. Boston: McBar and Company.
Kromrey, J.D., and La Rocca, M.A. (1995). Power and Type I Error Rates of New Pairwise Multiple Comparison Procedures under Heterogeneous Variances. Journal of Experimental Education. 63, 343-362.
Morris, E. (2022). Sampling from Small Populations. Available from URL: https://uregina.ca/~morrisev/Sociology/Sampling%20from%20small%20populations.htm.
Newble, D.I., and Entwistle, N.J. (1986). Learning Style and Approaches: Implications for Medical Education. Medical Education. 20, 162-175.
Ruben Geert van den Berg. (2021). SPSS Kolmogorov-Smirnov Test of Normality. Available from URL: https://www.spss-tutorials.com/spss-kolmogorov-smirnov-test-for-normality/.
Seaman, M.A., Levin, J.R., and Serlin, R.C. (1991). New Developments in Pairwise Multiple Comparisons: Some Powerful and Practicable Procedures. Psychological Bulletin. 110, 577-586.
Shin, JC., Shin TS., Jung JS. (2008). Causal Relations between College Student Academic Achievement and Its Factors. J Educ Adm. 26, 287-313.
Upamannyu, N., Maheshwari, A., and Bhakuni, P. (2013). The Impact of Brand Trust on Customer Loyalty: A Study of FMCG Sector at Gwalior Region. International Monthly Refereed Journal of Research in Management and Technology Special Issue. 1-14.
Welch, B. L. (1951). On the Comparison of Several Mean Values: An Alternative Approach. Biometrika. 38, 330-336.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต