กระบวนการซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้าที่ยั่งยืน กรณีศึกษาธุรกิจรถยนต์

ผู้แต่ง

  • ชาญ เดชอัศวนง สาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • อันธิกา สรนันต์ศรี บริษัท แฮปปี้ สเปซ กรุ๊ป จำกัด

คำสำคัญ:

ตราสินค้าที่ยั่งยืน, ความรับผิดชอบต่อสังคม , กระบวนการซื้อของผู้บริโภค , ความภักดีในตราสินค้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจในกระบวนการซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อตราสินค้าที่ยั่งยืนในกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ โดยเลือกใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview) จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 30 คน ศึกษาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้รถยนต์ขนาดเล็ก (10 คน) กลุ่มผู้ใช้รถยนต์ขนาดกลางถึงใหญ่ (10 คน) และผู้ใช้รถยนต์ที่มีความภักดีในตราสินค้า (10 คน) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความรับผิดชอบต่อสังคมส่งผลในเชิงบวกต่อกระบวนการซื้อของผู้บริโภคในทุกขั้นตอน ข้อค้นพบในงานวิจัยทำให้พบว่ามีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ในการสร้างตราสินค้าที่ยั่งยืน 1) ความต่อเนื่อง การรณรงค์ความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีความต่อเนื่องเป็นระยะยาว สามารถสร้างทั้งจิตสำนึกต่อสังคมและเป็นการย้ำเตือนถึงตราสินค้าขององค์กรด้วย 2) การมีส่วนร่วม การรณรงค์ความรับผิดชอบต่อสังคมที่ผู้บริโภคสามารถมีส่วนร่วม ทำให้ผู้บริโภครู้สึกตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและตราสินค้านั้น 3) การติดตามตรวจสอบ ธุรกิจควรติดตามตรวจสอบการรณรงค์ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ท้ายที่สุด ข้อค้นพบยังชี้ว่าความยั่งยืนสามารถสร้างความภักดีในตราสินค้าของทุกกลุ่มลูกค้า

References

กระทรวงพลังงาน. (2564). การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงาน ปี 2564. สืบค้นจาก URL: http://www.eppo.go.th/index.php/th/energy-information.

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2563. สืบค้นจาก URL: https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/589804.

ประชาชาติธุรกิจ. (2550). Corporate Social Responsibility CSR: พลังบริหารธุรกิจยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

ผู้จัดการออนไลน์. (2562). ส่องพฤติกรรมคนไทย ก่อนซื้อรถใหม่. สืบค้นจาก URL: https://mgronline.com/motoring/detail/9620000050042.

สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. (2564). มูลค่าการส่งออกของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ไตรมาสที่ 1 ปี 2564. สืบค้นจาก URL: https://tradereport.moc.go.th/TradeThai.aspx.

Crowther, D. and Aras, G. (2008). Corporate Social Responsibility. Frederiksberg Denmark: Ventus.

Krueger, R.A. (2015). Focus Groups: A Practical Guide for Applied Research (5th ed.), Thousand Oaks. California USA: Sage Publications.

McGuire, J. B. (1988). Corporate Social Responsibility and Firm Financial Performance, Academy of Management. 31(4), 854-872.

Morsing, M. and Beckmann S. C. (2006). Strategic CSR Communication. Copenhagen Denmark: DJOF.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20