ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชน ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • ณัตตยา เอี่ยมคง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด, สินค้าวิสาหกิจชุมชน, ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการขาย ด้านบุคลากร ด้านความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ และด้านการบอกต่อที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แจกแบบสอบถามกับผู้ที่เคยซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 400 ชุด วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และบริการ และปัจจัยด้านการบอกต่อ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2560). พช.ยกระดับผลิตภัณฑ์ สร้างแบรนด์ เปิดตลาดออนไลน์. สืบค้นจาก URL: https://www.cdd.go.th/content/

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560). โครงการเสริมสร้างศักยภาพร้านค้าชุมชนไทย ปีงบประมาณ 2560. สืบค้นจาก URL: https://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=469405537&filename=index

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). การส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นจาก http://www.dbd.go.th

กระทรวงพาณิชย์. (2559). สรุปผลการดำเนินงานสำคัญของกระทรวงพาณิชย์. สืบค้นจาก URL: https://moc.go.th/images/894/report_moc_oct_-_may.pdf

กฤตินา จันทร์หวร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้ากิ๊ฟช็อป ผ่านทางแอปพลิเคชัน อินสตาแกรมของผู้บริโภคระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์.

กิตติวัฒน์ จิตรวัตร. (2556). ปัจจัยการซื้อสินค้าออนไลน์และคุณภาพเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ลาซาด้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของบริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชลทิศ อุไรฤกษ์กุล. (2555). Information and knowledge Sharing Center. สืบค้นจาก URL: http://doh.hpc.go.th/data/plan60/CommunityEnterprise.pdf

ณรงค์ยศ มหิทธิวาณิชชา. (2563). พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย 2562. สืบค้นจาก URL: https://www.twfdigital.com/blog/2020/04/thailand-internet-user-profile-2019/

ณัฐพงค์ รัตนะพรม และคณะ. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง. 8(1), 17-29.

ณัฐพันธุ์ เจนสกุล. (2560). ปัจจัยความสำเร็จของการใช้สื่อ Facebook Fanpange Wongnai ที่มีผลต่อความสนใจใช้บริการร้านอาหาร. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัตตยา เอี่ยมคง และดนุชา สลีวงศ์. (2559). สภาพปัจจุบัน ความต้องการและความคาดหวังของผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโอทอปที่มีผลต่อการขายสินค้าผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์. RMUTT Global Business and Economics Review. 11(1), 31-41.

ดารินทร์ จิตสุวรรณ. (2561). อิทธิพลของการสื่อสารปากต่อปากแบบอิเล็กทรอนิกส์ต่อความตั้งใจเลือกใช้ บริการโรงแรมที่พักในประเทศไทย. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ (JISB). 4(1), 22-33.

ธิคณา ศรีบุญนาค และอุมาพร พงษ์สัตยา. (2562). ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจ ซื้อเครื่องสำอางเกาหลีผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2(3), 88-100.

พสชนันท์ บุญช่วย และประสพชัย พสุนนท์. (2562). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของสินค้าเพื่อสุขภาพและ ความงามสำหรับการตลาดดิจิทัล กรณีศึกษาเว็บไซต์ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 16(1), 43-55.

แพรวไพลิน มณีขัติย์ และพรพรหม สุธาทร. (2563). อิทธิพลของรีวิวออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการ วางแผนท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยกลุ่มเจเนเรชันวาย. Dusit Thani College Journal. 14(2), 560-609.

ฤทธิ์เจตน์ รินแก้วกาญจน์. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps และปัจจัยด้านการให้บริการที่มี อิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการคลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2(1), 92-106.

ลฎาภา แผนสุวรรณ์ และจิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการเรียนรู้สื่อเทคโนโลยี ในยุคหลอมรวมเทคโนโลยีของผู้สูงอายุในจังหวัดนครสวรรค์. RMUTT Global Business and Economics Review. 14(2), 99-118.

วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2563). สำรวจความนิยมของการ “ซื้อสินค้าออนไลน์” สำหรับคนยุคใหม่. สืบค้นจาก URL: https://kinyupen.co/wealth-of-mind/5247/.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. สืบค้นจาก URL: http://nscr.nesdb.go.th/

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน (2017). โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์. สืบค้นจาก URL: https://cep.cdd.go.th.

สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-marketplace). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรัชดา เชิดบุญเมือง จิรวุฒิ หลอมประโคน และวิสุทธ์ กล้าหาญ. (2557). ปัจจัยการตลาดและพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 5(พิเศษ), 76-91.

เสรี วงษ์มณฑา. (2554). กลยุทธ์การตลาด วางแผนการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ดวงกมลสมัย.

Assael, H. (1998). Consumer Behavior and Marketing Action. (6th). Ohio: South-Western College.

Church, S., Akpan and Nduka, N., Nwankpa. (2015). Influence of Facebook Advertisement on the Buying Behavior of Students of a Nigerian University. International Journal of Humanities and Social Science. 5(7), 135-148.

CIO World and Business. (2562). Customer Thai Shopping Online Surveys Thailand Ecommerce Report. Available from URL: http://www.cioworldmagazine.com/thailand-ecommerce-report-2018/

Kotler, P., and Keller, K. L. (2012). Marketing management. (14th). New Jersey: Pearson Education.

Ourgreenfish. (2020). Digital Marketing 2020. Available from URL: https://blog.ourgreenfish.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20