การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ผ่านอินสตาแกรม เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

ผู้แต่ง

  • กันตภณ คิ้วสง่า สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วัตสาตรี ดิถียนต์ สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์, อินสตาแกรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผ่านอินสตาแกรม เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผ่านอินสตาแกรม และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผ่านอินสตาแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1) การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผ่านอินสตาแกรม เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนรู้แบบร่วมมือโดยวิธีแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ผ่านอินสตาแกรมอยู่ในระดับมาก

References

กรมวิชาการ. (2545). การเรียนรู้แบบร่วมมือ. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

ชลชินี บุนนาค. (2560). การสำรวจรูปแบบการดำเนินชีวิตบนอินสตาแกรม. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐพล บัวอุไร. (2555). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง วิชาการสร้างงานสื่อผสม เรื่องคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ลำลูกกา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและประเมินทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธงชัย แกละมงคล. (2560). การพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ เรื่องการออกแบบกราฟิกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีต่อความสามารถในการออกแบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์ประชาอุทิศพิทยาคาร. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ (2540). เครือข่ายใยแมงมุมโลกในโลกของการศึกษา. วารสารครูวิทยาศาสตร์. 5(1), 18-23.

พนิดา ทรงรัมย์. (2561). การพัฒนาระบบจัดการเรียนการสอนบนเฟซบุ๊ก. วารสารวิชาการการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5(2), 137-145.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2543). แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.

วิภาส วิกรมสกุลวงศ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน วิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาและฝึกอบรม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เอกนฤน บางท่าไม้. (2560). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตเชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย. (37)1, 93-112.

Abdulmajeed Aldosari. (2016). Using cooperative learning strategies to increase students' participation and positive learning outcomes. Master Thesis. (Science), Education Department of Curriculum and Instruction, 0State University of New York.

K.Syamala Devi. (2019). Role of Social Media in Teaching - Learning Process. Journal of Emerging Technologies and Innovative Research. 6(1), 96-101.

Rensis Likert. (1932). A Technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology. 25(140), 5-53.

Waleed Mugahed Al-Rahmi. (2016). A model of using social media for collaborative learning to enhance learners’ performance on learning, Journal of King Saud University - Computer and Information Sciences. (29)4, 2-9.

We Are Social. (2019). Digital 2019 Q2 Global Digital Statshot. Digital Thailand 2020. Available from URL: https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/digital-stat-2019-we-are-social.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20