การพัฒนาชุดเนื้อหาเพื่อการสื่อสารสุขภาพบนสื่อสังคมออนไลน์ เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ กลุ่มงานบริการสุขภาพและอนามัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
คำสำคัญ:
ชุดเนื้อหาเพื่อการสื่อสารสุขภาพ, สื่อสังคมออนไลน์, โรคไข้หวัดใหญ่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาคุณภาพของชุดเนื้อหาเพื่อการสื่อสารสุขภาพบนสื่อสังคมออนไลน์ เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ กลุ่มงานบริการสุขภาพและอนามัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2) ประเมินผลการรับรู้ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดเนื้อหาเพื่อการสื่อสารสุขภาพบนสื่อสังคมออนไลน์ เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ กลุ่มงานบริการสุขภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบสำรวจความต้องการ แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินการรับรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ดำเนินการโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่เคยเข้าใช้บริการห้องพยาบาลมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ครั้ง และยินดีตอบแบบสอบถามจำนวน 30 คน ซึ่งผลจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านสื่อรวมจำนวน 6 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า มีผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่ามีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก (=4.51, S.D.=0.50) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนอ อยู่ในระดับดีมาก (=4.80, S.D.=0.31) ผลการประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.52, S.D.=0.67) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.66, S.D.=0.58) ดังนั้นชุดเนื้อหาเพื่อการสื่อสารสุขภาพบนสื่อสังคมออนไลน์ เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ กลุ่มงานบริการสุขภาพและอนามัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สามารถนำไปใช้งานได้จริงอย่างมีคุณภาพ
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2552). สรุปสถานการณ์และมาตรการดำเนินงานโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช1 เอ็น1. สืบค้นจาก URL: http://old.ddc.moph.go.th/advice/showimgdetil.php?id=205
กองสาธารณสุขท้องถิ่น. (2563). ขอความร่วมมือในการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่. สืบค้นจาก URL: http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2020/1/ 229177_1_1578640486764.pdf?time=1578647345785
งานบริการสุขภาพและอนามัย มจธ. (2559). เกี่ยวกับกลุ่มงานบริการสุขภาพและอนามัย มจธ. สืบค้นจาก URL: http://www.hcu.kmutt.ac.th/aboutus.php
ชิษณุ พันธุ์เจริญ. (2559). Q&A ไขปัญหา ไข้หวัดใหญ่ ภัยร้ายที่ป้องกันได้. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
เด่นอรุณ ชะลูด และนันทิยา ทองเอี่ยม. (2562). การสร้างชุดสื่อประชาสัมพันธ์เฟซบุ๊กแฟนเพจ ShopSpotter บนเครือข่ายสังคมออนไลน์. ปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ธันยธรณ์ ชวยบุญชุม วัณณิตา วิมลเก็จ และสิริญาพร ชนะกุล. (2561). การพัฒนาชุดเนื้อหาเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ เรื่องกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 35 ของฝ่ายข่าวกีฬา สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (Thai PBS). ปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
นันทสารี สุขโข. (2548). การตลาดระดับโลก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ประภัสสร อินทเดช ณภัทร ดีเย็น และธัญชนก พิมมหา. (2561). การพัฒนาชุดเนื้อหาเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์สาระบันเทิงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของ บริษัทอสมท. จำกัด (มหาชน). ปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ภาวิณี บินรามัน และศุภกรณ์ ภิรมย์พร้อม. (2562). การพัฒนาชุดเนื้อหาเพื่อการสื่อสารสุขภาพบนสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มงานบริการสุขภาพและอนามัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. ปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ศวิตา ทองสง. (2555). แนวคิดเรื่อง Addie Model. สืบค้นจาก URL: https://sites.google.com/site/ prae8311/hlak-kar-xxkbaeb-khxng-addie-model
แสงเดือน ผ่องพุฒ. (2556). สื่อสังคมออนไลน์ : แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้. สืบค้นจาก URL: http://library.senate.go.th/document/Ext6685/6685991_0004.PDF
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต