การวิเคราะห์สื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
สื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, สัญญะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการสื่อความหมายในสื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว
เชิงนิเวศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้ทฤษฎีสัญญะวิทยาและแนวความคิดด้านการท่องเที่ยวมาเป็นกรอบในการวิจัยเพื่อมุ่งค้นหาความหมายเชิงลึกจากสัญญะในสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้ง 5 ประเภท จำนวน 9 ชิ้น ร่วมกับการศึกษาปรากฏการณ์ในภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาที่ปรากฏในสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ ความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเหมือนเป็นสีสันที่ดึงดูดความสนใจของผู้คนต่างๆ ให้มาเยือน และวิถีเกษตรกรรม ก็คือ ความเป็นรากเหง้าในการดำรงชีวิตที่มีมาตั้งแต่อดีต สำหรับวิธีการสื่อความหมายในสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ พบว่ามี 4 รูปแบบ คือ 1) การสื่อสารเชิงกระบวนทัศน์ที่เกิดจากการใช้องค์ประกอบย่อยๆ มาสื่อความหมาย 2) การใช้ส่วนย่อยแทนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นการนำเอาภาพหรือสัญลักษณ์บางส่วนมาใช้แทนความหมายทั้งหมด 3) การสร้างคู่ตรงข้ามซึ่งเป็นการใช้ความหมายที่แตกต่างกันระหว่างสิ่งสองอย่าง และ 4) การสร้างสัมพันธบทโดยนำเอาร่องรอยของสัญญะเก่ามาสร้างคุณค่าในบริบทใหม่เพื่อให้เกิดความหมายขึ้นมา
References
กำจร หลุยยะพงศ์. (2556). ภาพยนตร์กำกับประกอบสร้างสังคม ผู้คน ประวัติศาสตร์ และชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แก้วตา มุ่งเกษม และสมพงษ์ อำนวยเงินตรา. (2558). การสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: วี.ที.เค. พริ้นท์ติ้ง.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
เจริญชัย เอกมาไพศาล. 2564. การจัดการการบริหารการท่องเที่ยวและบริการ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ฐณวุฒ ชุติพงศ์เดช, ชุติมา พลอยจันทร์กุล และชนกสุดา ชุมนานนท์. (2564). การวิเคราะห์ความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีพฤติกรรมสีเขียวเข้มด้วยแม่แบบการนำเสนอคุณค่า. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 43(1), 22-37.
ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2558). Digital Marketing: Concept & Case Study. กรุงเทพมหานคร: ไอดีซี พรีเมียร์.
ไตรสิทธิ์ ศิริธนู และธีรภัทร วรรณฤมล. (2561). การสื่อความหมายด้วยภาพของภาพถ่ายรางวัลโครงการประกวดภาพถ่ายนานาชาติเนื่องในงานวันนริศ. วารสารการสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 6(1), 90-129.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: เพรสแอนด์ ดีไซน์.
พัทธิธีรา วงษ์อัศวกรณ์. (1 กันยายน 2558). “ปรับยุทธศาสตร์ท่องเที่ยว 58-60 ตั้งเป้าโกยรายได้ 2.5 ล้านล้าน”. ข่าวสด, 8.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. (2554). การท่องเที่ยวจากนโยบายสู่รากหญ้า. เชียงใหม่: ล็อคอินดีไซน์เวิร์ด.
วิมลสิทธิ์ หรยางตระกูล. (2541). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม: มูลฐานทางพฤติกรรมเพื่อการออกแบบและวางแผน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วีรพล เจียมวิสุทธิ์. (2561). สัญญะกับการสื่อสารอัตลักษณ์ในตราเครื่องหมายสัญลักษณ์การจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย. 10(1), 2077-2092.
ศิริประภา ประภากรเกียรติ. (2562). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์ (Public Relations Media). กรุงเทพมหานคร: ภูมิปัญญาสร้างสรรค์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต