เลนส์เล่าเรื่อง : ความยาวโฟกัสของเลนส์กับการสื่อสารด้วยภาพของผู้ส่งสาร

ผู้แต่ง

  • อนุสรณ์ สาครดี สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ประภาภร ดลกิจ สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อิทธิพล โพธิพันธุ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ความยาวโฟกัส, มุมรับภาพ, ช่วงความชัด, ความบิดเบือน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะทำความเข้าใจการใช้ความยาวโฟกัสของเลนส์ในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารความหมายของลักษณะภาพที่นอกเหนือจากตัวภาพ โดยพยายามที่จะทำความเข้าใจธรรมชาติของการสื่อสารด้วยภาพ คุณลักษณะของเลนส์ที่ใช้ในการสร้างลักษณะภาพ และคุณลักษณะของสื่อภาพยนตร์สื่อหลักที่ใช้ลักษณะภาพในการสื่อความหมายโดยสังเขป ผลการศึกษาพบว่า การสื่อสารด้วยภาพนั้นมีความสำคัญเรื่ององค์ประกอบภาพที่เข้ามากำกับความหมาย มีเรื่องของมุมมองและจังหวะการตัดสินใจเลือกภาพเข้ามามีอิทธิพลต่อการกำหนดทิศทางของความหมาย ในขณะที่คุณลักษณะของเลนส์กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของช่างภาพที่จะกำกับมุมมองที่ว่านั้นโดยสามารถเลือกใช้เลนส์ที่แตกต่างกันคือ เลนส์มาตรฐาน เลนส์มุมกว้าง และเลนส์มุมแคบ ซึ่งให้ผลที่แตกต่างทางภาพ 4 ประการ ได้แก่ 1) มุมรับภาพ โดยภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้างแสดงพื้นที่ฉากมากกว่า และบอกเล่าเรื่องราวของสถานที่และเวลา ส่วนภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มุมแคบให้ความสำคัญกับการสื่อสารด้วยวัตถุในตำแหน่งโฟกัส 2) ช่วงความชัด โดยภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้างจะชัดลึกและเล่าเรื่องด้วยวัตถุทุกระนาบที่ชัด ตรงข้ามกับภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มุมแคบที่ชัดตื้นและสื่อสารโดยเน้นวัตถุใดวัตถุหนึ่ง 3) ความบิดเบือนของภาพที่เกิดจากเลนส์ ซึ่งภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้างเป็นภาพบิดเบือนแบบโป่ง ใช้สื่อถึงความผิดปกติ ส่วนภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มุมแคบแสดงการบิดเบือนแบบเว้า นิยมใช้ในการถ่ายภาพบุคคลให้ใบหน้าและรูปร่างดูเรียว และ 4) ความบิดเบือนทางทัศนมิติ โดยภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้างจะมีความลึกและระยะห่างระหว่างวัตถุเพิ่มขึ้น ใช้สื่อถึงความห่างเหิน ซึ่งตรงข้ามกับภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มุมแคบ การเลือกใช้ดังกล่าวส่งผลต่อการได้ภาพที่ให้ความหมายแตกต่างกันแม้จากวัตถุชิ้นเดียวกันในเวลาเดียวกัน การเลือกเลนส์ที่มีโฟกัสต่างกันจึงเป็นเครื่องมือสำคัญของช่างภาพในการเลือกความหมาย ยิ่งไปกว่านั้นการเลือกดังกล่าวยังส่งผลต่อการช่วยแก้ปัญหาที่หน้างานการผลิตงานอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ การเลือกใช้โฟกัสเลนส์ช่วยสร้างความหมายของภาพในโลกของการเล่าเรื่องที่ต่างไปจากโลกความจริงได้ในหลายกรณี เช่น ฉากรัก ฉากบู๊ ฉากฆาตกรรม ฯลฯ นักแสดงไม่จำเป็นต้องเข้าใกล้ถึงตัวหรือปะทะกันอย่างรุนแรงอย่างในภาพที่แสดงออกมา เพราะมุมกล้องและความยาวโฟกัสของเลนส์มีส่วนสำคัญในการสร้างความหมายที่ต่างไปจากโลกความจริงได้โดยคุณลักษณะของความยาวโฟกัสนั้น ซึ่งชี้นำให้เห็นว่าหากมีนวัตกรรมการสร้างโฟกัสของเลนส์แบบอื่นๆ ที่ต่างไปเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างภาพเพื่อการสื่อสารก็จะยิ่งให้ทางเลือกได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2544). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณธกร ผ่านภูวงษ์. (2559). ภาพแบบชัดลึก-วิถีชีวิต. ถ่ายเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2563.

ประภาภร ดลกิจ. (2563). ภาพแบบชัดตื้น. ถ่ายเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2563.

ประวิทย์ แต่งอักษร. (2551). มาทeหนังกันเถอะ (ฉบับตัดต่อใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ไบโอสโคป พลัส.

อนุสรณ์ สาครดี. (2563). ลักษณะมุมรับภาพเมื่อถ่ายภาพด้วยเลนส์มุมกว้าง เลนส์มาตรฐาน และเลนส์มุมแคบ. ถ่ายเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563.

_______________. (2563). ลักษณะภาพเปิดเรื่อง (Establishing shot) ในภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ เพื่อแสดงให้เห็นรายละเอียดวิวทิวทัศน์ของโรงงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. ถ่ายเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563.

_______________. (2563). วงความชัดของภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์มุมกว้าง เลนส์มาตรฐาน และเลนส์มุมแคบ. ถ่ายเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563.

_______________. (2563). การเปรียบเทียบความบิดเบือนของภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ความยาวโฟกัสต่าง ๆ. ถ่ายเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563.

_______________. (2563). ลักษณะภาพการบิดเบือนแบบโป่ง ที่ใช้แสดงความผิดปกติของตัวละคร. ถ่ายเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563.

_______________. (2563). การเปรียบเทียบความบิดเบือนทางทัศนมิติของภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ความยาวโฟกัสต่าง ๆ. ถ่ายเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563.

_______________. (2563). ภาพเปรียบเทียบการใช้เลนส์เพื่อสื่อความหมายถึงความเหินห่าง. ถ่ายเมื่อ11 พฤศจิกายน 2563.

_______________. (2563). ตัวอย่าง “การหลอกมุมกล้อง” เพื่อทำให้ภาพการต่อสู้ดูสมจริงโดยไม่เกิดอันตรายต่อนักแสดง. ถ่ายเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563.

Cambridge in Colour. (n.d.). Understanding Depth of Field in Photography. Available from URL: https://www.cambridgeincolour.com/tutorials/depth-of-field.htm.

Columbia University. (n.d.). Columbia Film Language Glossary: Depth of Field. Available from URL: https://filmglossary.ccnmtl.columbia.edu/term/depth-of-field.

______________________. (n.d.). Columbia Film Language Glossary: Establishing Shot. Available from URL: https://filmglossary.ccnmtl.columbia.edu/term/establishing-shot.

Elizabeth Allen and Sophie Triantaphillidou. (2011). The manual of photography. 10th ed. Amsterdam: Elsevier.

Elizabeth Gray. (2019). What Is Focal Length in Photography? Photography Life. Available from URL: https://photographylife.com/what-is-focal-length-in-photography.

Geoffrey G Attridge. (2000). Manual of Photography. Available from URL: https://www.safaribooksonline.com/library/view/title/9780240515748/?ar?orpq&email=^u.

Karen Foley. (2019). Pick the Right Lens for Any Situation. Dreamstime. Available fromURL: https://www.dreamstime.com/blog/pick-right-lens-any-situation-51691.

Mark Galer and Mark Galer. (2009). Digital photography. Saint-Étienne: Focal.

Michael Langford, Anna Fox, and Richard Sawdon Smith. (2013). Langford’s basic photography: The guide for serious photographers. 9th ed. Amsterdam: Elsevier.

Sally, J. D. (2007). Roots to research: A vertical development of mathematical problems.Rhode Island: American Mathematical Society.

Shutter Muse. (n.d.). What Is a Normal Lens and How Is It Used When Taking Photos? Shutter Muse. Available from URL: https://shuttermuse.com/glossary/normal-lens.

Sony. (n.d.). Focal Length, Angle of View & Perspective in Photography. Available from URL: https://www.sony.com/electronics/focal-length-angle-of-view-perspective.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20