“นวดไทย” คุณค่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแพทย์แผนไทย

ผู้แต่ง

  • กระจ่างศรี ศรีกระจ่าง ผสมทรัพย์ สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • หทัยรัตน์ ทับพร สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อัควิทย์ เรืองรอง สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

นวดไทย, คุณค่า, มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม, โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณค่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแพทย์แผนไทยด้านการนวดไทย กำหนดพื้นที่ในการศึกษาโดยเลือกโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัย คือ การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การศึกษาภาคสนาม และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ครูสอนนวดไทย จำนวน 5 คน หมอนวดไทย จำนวน 12 คน ผู้เข้ารับบริการนวดไทย จำนวน 6 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน และผู้กำหนดนโยบายภาครัฐ จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบบันทึกการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์คุณค่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแพทย์แผนไทยด้านการนวดไทย โดยผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน โครงการวิจัยที่ 177.1/64 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า คุณค่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแพทย์แผนไทยด้านการนวดไทย สามารถแบ่งคุณค่าออกเป็นสองลักษณะ คือ คุณค่าภายใน และคุณค่าภายนอก คุณค่าภายใน ประกอบด้วย คุณค่าทางจริยศาสตร์สะท้อนความดีงาม ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ จิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่จะส่งมอบองค์ความรู้และความสามารถ ความเอื้ออาทร ความกรุณา และปรารถนาดีต่อกันในลักษณะของการเป็นผู้ให้ของครูมีต่อศิษย์ และหมอนวดมีต่อผู้รับบริการ และคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ถูกถ่ายทอดผ่านความรู้สึกและสัมผัสระหว่างหมอนวดไทยและผู้รับบริการ คุณค่าภายนอก ประกอบด้วย คุณค่าทางสุขภาพเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง คุณค่าทางเศรษฐกิจ สามารถแบ่งออกเป็นคุณค่าทางตรงและทางอ้อม คุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรม มีส่วนในการทำให้เกิดความรัก ความหวงแหน และความภาคภูมิใจในการนวดไทย ต้องการที่จะอนุรักษ์และรักษาไว้ คุณค่าทางประวัติศาสตร์ เป็นองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดและส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น และคุณค่าทางการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือของการพัฒนาที่ยั่งยืน

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2558). คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

เครือจิต ศรีบุญนาค. (2542). สุนทรียภาพของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

งานฉลองนวดไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้. (2563). ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2557). กระบวนทัศน์พัฒนศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ชื่นชนก โควินท์. (2561). การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2560). วาทกรรมการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: วิภาษา.

ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. (2472). “คำนำ” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน เล่ม 1. (พิมพ์ในงานพระศพ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา). ม.ป.ท.: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนาการ.

ปรีดา ตั้งตรงจิตร. (2548). วิชาพื้นฐานเกี่ยวกับการนวดไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนนวดแผนโบราณเชตะวัน.

ปรีดา ตั้งตรงจิตร. (2563). “ประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์” ใน งานฉลองนวดไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (บรรณาธิการ). (2544). การแพทย์แผนไทยสำหรับนักศึกษาแพทย์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันการแพทย์แผนไทย.

มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา. (2555). การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเส้นสิบ. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.

ยงศักดิ์ ตันติปิฎก. (2559). ตำราการนวดไทย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา.

ยงศักดิ์ ตันติปิฎก และรวงทิพย์ ตันติปิฎก. (2561). ตำราพื้นฐานวิชาชีพการแพทย์แผนไทย เล่ม 1. สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.

ลาลูแบร์, มองซิเออร์ เดอะ. (2557). จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

ว.อำพรรณ. (2559). วัดโพธิ์ มรดกความทรงจำแห่งโลก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงดาว.

วัดพระเชตุพน. (2554). จารึกวัดโพธิ์ : มรดกความทรงจำแห่งโลก. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย และปิยะพร ธรรมชาติ. (2559). รูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพของจังหวัดปราจีนบุรีเพื่อการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารสมาคนักวิจัย. 21 (กันยายน-ธันวาคม), 167-181.

สมิทธ์ บุญชุติมา. (2564). ร้อยคนไทยหัวใจนวัตกรรม 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

หมอนวดไทย. (29 เมษายน 2565). หมอนวดไทยโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์). สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-24