การประเมินการพัฒนาศักยภาพของนักบริหารงานประชาสัมพันธ์ผ่านหลักสูตร ของสถาบันการประชาสัมพันธ์

ผู้แต่ง

  • พวงมาลัย ทีหนองสังข์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • มนวิภา วงรุจิระ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การประเมิน, การพัฒนาศักยภาพ, นักบริหารงานประชาสัมพันธ์, สถาบันการประชาสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการ 2) ศึกษาประสิทธิผล และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพนักบริหารงานประชาสัมพันธ์ผ่านหลักสูตรนักบริหารงานประชาสัมพันธ์ระดับสูงของสถาบันการประชาสัมพันธ์ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้สำเร็จการฝึกอบรมระหว่าง
ปี 2560–2562 จำนวน 93 คน ผู้บังคับบัญชา จำนวน 37 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้อำนวยการสถาบันการประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารหลักสูตร และวิทยากร จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสรุปเชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาศักยภาพนักบริหารงานประชาสัมพันธ์ ได้มีการวัดความเหมาะสมของกระบวนการฝึกอบรมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเนื้อหาหลักสูตรมีค่าเฉลี่ย 4.48 เจ้าหน้าที่ มีค่าเฉลี่ย 4.41 วิทยากร มีค่าเฉลี่ย 4.39 และสถานที่จัดฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ย 4.28 2) ประสิทธิผลการพัฒนาศักยภาพที่เกิดขึ้นหลังสำเร็จการฝึกอบรม ในส่วนของผู้สำเร็จการฝึกอบรมได้ประเมินความรู้และทักษะที่ตนเองได้รับ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยหมวดการบริหารองค์กรเชิงกลยุทธ์ มีค่าเฉลี่ย 4.46 การบริหารงานประชาสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ย 4.46 และทักษะนักบริหาร มีค่าเฉลี่ย 4.39 ขณะที่ผู้บังคับบัญชาเห็นว่า ประสิทธิผลการพัฒนาศักยภาพที่เกิดขึ้นหลังสำเร็จการฝึกอบรม อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน และ 3) แนวทางการพัฒนาศักยภาพ ควรมีการสำรวจสภาวการณ์แนวโน้มการประชาสัมพันธ์ก่อนเปิดหลักสูตร เพิ่มชั่วโมงวิชาประชาสัมพันธ์ คัดเลือกวิทยากรที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในวิชาชีพ และให้ความสำคัญกับกิจกรรมการสร้างเครือข่าย

References

ชาญ สวัสดิ์สาลี. (2555). คู่มือการประเมินและติดตามผลการฝึกอบรมสำหรับผู้รับผิดชอบโครงการฝึกอบรม/สัมมนา (ฉบับเพิ่มเติม). พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพมหานคร: สวัสดิการสำนักงาน ก.พ.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวิศา สุขมั่น. (2560). ชุมชนคนสร้างทาง : เครือข่ายประชาสัมพันธ์กรมทางหลวง. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภาวรรณ จ้อยชารัตน์. (2558). การจัดอบรมและแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์ต่อการถ่ายโอนการฝึกอบรม กรณีศึกษา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บรรจบ จันทรัตน์. (2563). โครงการประเมินผลการฝึกอบรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยการปกครอง.

รัตนะ บัวสนธ์. (2550). ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ลักษณา อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2559) การประเมินการฝึกอบรมวิชาชีพโครงการสร้างชีวิตใหม่ให้สตรีและครอบครัว (หลักสูตร 44 วัน) : ศึกษากรณีศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุรัสวดี ลีบ่อน้อย. (2557) การติดตามผลการฝึกอบรมหลักสูตร วิศวกรรมงานทางระดับสูง กรมทางหลวง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สิปปวัสน์ โมระกรานต์. (2561). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสำหรับนายทหารชั้นประทวน กรณีศึกษา สำนักจิตวิทยา กรมกิจการพลเรือนทหารบก. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุไร อภิชาตบันลือ. (2550). การพัฒนากระบวนการประเมินผลการฝึกอบรม. สารนิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-24