โค้ดดิ้งมีคุณค่ามากกว่าการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมของเยาวชนไทย เพื่อควบคุมหุ่นยนต์อย่างชำนาญ

ผู้แต่ง

  • Annop Piyasinchart -

คำสำคัญ:

โค้ดดิ้ง , การเขียนโปรแกรม , ควบคุมหุ่นยนต์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่อง โค้ดดิ้งมีคุณค่ามากกว่าการพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมของเยาวชนไทยเพื่อควบคุมหุ่นยนต์อย่างชำนาญ ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอความคิดที่อาจแตกต่างจากกรอบความคิด (Mindset) ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ประเทศไทย ตั้งแต่ผู้พัฒนาหลักสูตร ครูผู้สอน ผู้เรียน ตลอดจนผู้ปกครอง ว่ามิใช่เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการเขียนโปรแกรมตั้งแต่วัยเด็กเพียงอย่างเดียวแต่ต้องการให้ตระหนักรู้ในเป้าหมายที่ศาสตราจารย์ Mitchel Resnick (2013) และกลุ่มนักวิจัยใน MIT Media Lab ได้ร่วมกันพัฒนาการเขียนชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ฝังไปในภาพชิ้นย่อยๆ ที่มีลักษณะต่างกัน และสามารถนำมาต่อเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทำนองเดียวกับการประกอบภาพให้สมบูรณ์ด้วยภาพชิ้นย่อยๆ โดยตั้งชื่อว่าโปรแกรม Scratch แล้วนำมาพัฒนาเป็นหลักสูตรสำหรับผู้เรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550 เพื่อตอบโจทย์การเพิ่มทักษะที่พึงมีสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ตาม Framework ที่นำเสนอโดย Partnership for 21st Century Skills (2002) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่สนับสนุนให้ผสมผสานทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 เช่น การสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ (Creativity and Innovation) การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) การเรียนรู้แบบร่วมมือและการติดต่อสื่อสาร (Collaboration and Communication) ไปกับเนื้อหาหลักที่ต้องเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของเยาวชนโลกให้มีทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ผู้เขียนนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ SEED of WISDOM ที่ได้พัฒนาขึ้นตลอดจนสร้างแนวคิดความร่วมมือ 3 ฝ่าย (Tri-parties Collaboration) คือ โรงเรียน มหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในชีวิต และผู้ปกครอง โดยนำเอารูปแบบ SEED of WISDOM ไปใช้กับโรงเรียนที่ขาดความพร้อมทั่วประเทศเพื่อส่งเสริมเยาวชนไทยให้เป็นประชากรในระดับโลกที่มีทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21

References

Bustillo, J. and Garaizar, P. (2014). Scratching The Surface of Digital Literacy but We Need

to go Deeper. IEEE Frontiers in Education Conference (FIE) Proceedings. Madrid, Spain. 1-4. DOI: 10.1109/FIE.2014.7044224.

Carneiro, R. (2007). The Big Picture: Understanding Learning and Meta-learning Challenges. European Journal of Education, 42(2), 151-172.

Fraillon, et al. (2013). Preparing for Life in a Digital Age. The IEA International Computer and Information Literacy Study International Report. Melbourne: SpringerLink.

Jeerungsuwan, Namon and Sriwongkol, Tuangrat. (2008). Development of AAA Model based on the Philosophy of Sufficiency Economy. Thailand Cyber University (TCU): International Conference on e-Learning. Bangkok, Thailand.

Ken Kay. (2008). Preparing Every Child for the 21st Century. Available from URL: https://www.slideserve.com/caesar/preparing-every-child-for-the-21-st-century-powerpoint-ppt-presentation.

OECD/UNESCO. (2016). Education in Thailand. An OECD-UNESCO Perspective, Reviews of National Policies for Education. Paris: OECD Publishing. Available from URL: http://dx.doi.org/10.1787/9789264259119-en.

Resnick, M. (2007). Sembrando Las Semillas Para Una Sociedad Más Creativa. Learning and Leading with Technology. 1-5.

_______. (2013). Learn to Code, Code to Learn. Available from URL: https://www.edsurge.com/news/2013-05-08-learn-to-code-code-to-learn.

Schwab, K. (2019). The Global Competitiveness Report (566). The World Economic Forum.

Available from URL: https://www.weforum.org/search?query=Thailand+overall+ competitiveness+Ranking +in+2020.

Thailand Ministry of Labour. (2016). Executive Summary: Information and Communication Technology Master Plan of Ministry of Labor and Office of Permanent Secretary, Ministry of Labor, 2016-2020. Available from URL: https://www.mol.go.th/wp- content/uploads/sites/2/2020/01/4_executive_summary.pdf.

The Partnership for 21st Century Skills. (2009). P21 Framework Definitions. Partnership for 21st Century Skills. Available from URL: https://eric.ed.gov/?id=ED519462.

Warlick, D.F. (2008). Redefining Literacy 2.0, 2nd. Worthington: Linworth Publishing.

WNCP. (2011). Guideline Principles for WNCP Curriculum Framework Projects. Western and Northern Canadian Protocol.

Wikipedia. (2022). 21st Century Skills. Available from URL: https://en.wikipedia.org/wiki/21st_ century_ skills#Partnership_for_21st_ Century_ Skills_(P21).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-24