ปัจจัยที่ทำให้นักศึกษาจีนที่อยู่ในประเทศไทยพึงพอใจต่อละครบุพเพสันนิวาส
คำสำคัญ:
ละครบุพเพสันนิวาส, การเล่าเรื่อง, การสื่อสารการตลาดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการชมละครบุพเพสันนิวาสของนักศึกษาจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย 2) ศึกษาปัจจัยการเล่าเรื่องที่ทำให้นักศึกษาจีนที่อยู่ในประเทศไทยพึงพอใจต่อละครบุพเพสันนิวาส และ 3) ศึกษาปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดที่ทำให้นักศึกษาจีนที่อยู่ในประเทศไทยพึงพอใจต่อละครบุพเพสันนิวาส งานวิจัยนี้นำแนวคิดพฤติกรรมการรับชมละคร แนวคิดการเล่าเรื่อง และทฤษฎีการสื่อสารการตลาดบูรณาการมาประยุกต์เป็นกรอบของการวิจัยเชิงคุณภาพ แหล่งข้อมูลของงานวิจัยเป็นนักศึกษาจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย จำนวน 14 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผลโดยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาจีนที่รับชมละครบุพเพสันนิวาสส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 24 ปีขึ้นไป เป็นนักศึกษาระดับชั้นปริญญาโทมากที่สุด และศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี และปริญญาเอกตามลำดับ ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด พบพฤติกรรมการรับชมละครที่แตกต่างกันออกไปทั้งช่องทางการรับชม ความถี่ในการรับชม และสถานที่ที่รับชมละคร ทั้งนี้ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม บริบททางสังคม และพฤติกรรมของคนรอบข้าง ทั้งเพื่อนคนในครอบครัว หรือคนรัก จะส่งผลต่อพฤติกรรมการรับชมละคร องค์ประกอบของละครที่นักศึกษาชาวจีนชื่นชอบมากที่สุด ได้แก่ ฉาก บทสนทนา แก่นเรื่อง และโครงเรื่อง ตามลำดับ ทั้งนี้กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ และกลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาดที่ใช้ในการส่งเสริมการตลาดของละคร ส่งผลต่อการสร้างความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่มีต่อละครบุพเพสันนิวาส
References
ชนาพร พิทยาบูรณ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเปิดรับชมรายการละครวิทยุโทรทัศน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง.วารสารรามคำแหงฉบับมนุษยศาสตร์. 33(1), 109-121.
บุหงา ชัยสุวรรณ. (2558). การสื่อสารการตลาดผ่านสื่อสังคม: ภาพรวมและกรอบแนวความคิด. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 2(1), 173-198.
วัฒนา เพชรวงศ์. (2542). พฤติกรรมและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการใช้บริการ 13. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
วีรวัฒน์ อินทรพร. (2545). ทักษะการเขียน. สงขลา: ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปะศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Goodlad, J.S. R. (1971). Sociology of Popular Drama. London: Heinemann Educational Publishers.
Kotler and Lane Kevin. (2012). Marketing Management. 14th ed. Edinburgh Gate, England: Pearson Education Limited.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต