แนวทางการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กเพื่อรับรู้ภาพลักษณ์ของกระทรวงกลาโหม

ผู้แต่ง

  • สุชาดา โยธาขันธ์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ลักษณา คล้ายแก้ว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การประชาสัมพันธ์, สื่อสังคมออนไลน์, ภาพลักษณ์องค์กร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการประชาสัมพันธ์ และศึกษาการส่งเสริมการพัฒนาระบบประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทางเฟซบุ๊ก ในการรับรู้ภาพลักษณ์ของกระทรวงกลาโหม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เนื้อหาที่มีการเผยแพร่จากสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก “สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม” ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1) เนื้อหาที่ผลิตขึ้นเองภายในกระทรวงกลาโหม 2) เนื้อหาจากสื่อมวลชน และ 3) เนื้อหาจากเว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ มีกรอบพิจารณาคัดเลือกว่าเป็นเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ สนับสนุนให้เกิดความรัก ความสามัคคี และความมั่นคงภายในประเทศ เนื้อหาที่ปรากฏสะท้อนภาพลักษณ์ด้านการสร้างความผูกพัน ด้านการยอมรับความเชี่ยวชาญ ด้านความเคลื่อนไหวขององค์กร ด้านความโดดเด่น และด้านเกี่ยวกับประเด็นทางสังคม ตามลำดับ ในด้านการส่งเสริมการพัฒนาระบบประชาสัมพันธ์ กระทรวงกลาโหมควรพัฒนาบุคลากร อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยี การบริหารจัดการ และจัดสรรงบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์ มาพัฒนาสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กให้มีความทันสมัย รวดเร็ว ถูกต้อง ต่อเนื่องทันเวลา และทันสถานการณ์ ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อกระทรวงกลาโหม เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือ ศรัทธา และร่วมมือสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของกระทรวงกลาโหมต่อไป

References

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์. (2558). แนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ. 8(2), 55-69.

พงษ์เทพ วรกิจโภคาทร. (2537). ภาพพจน์กับการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรทิพย์ พิมลสินธุ์. (2551). การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โฟร์พริ้นติ้ง.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2546). นักประชาสัมพันธ์กับงานประชาสัมพันธ์ในเชิงปฏิบัติยุคสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

_______. (2553). การประชาสัมพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม. (2563). สื่อสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก. สืบค้นจาก URL : https://www.facebook.com/opsd.pr

สุทธินันทน์ วิรุณราช, สุชนนี เมธิโยธิน และชนิสรา แก้วสวรรค์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อประชาสัมพันธ์กับภาพลักษณ์โครงการจัดตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 10(3), 355-374.

สุรเดช สุเมธาภิวัฒน์. (2559). การสื่อสารการตลาดในยุคไทยแลนด์ 4.0 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(2), 110-117.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-24