ภาพถ่ายใต้น้ำสุนทรียภาพใต้ท้องทะเล

ผู้แต่ง

  • กิตติธัช ศรีฟ้า สาขาการออกแบบสื่อดิจิทัล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

ภาพถ่ายใต้น้ำ, สุนทรียภาพใต้ทะเล, ทะเล

บทคัดย่อ

โลกใต้ทะเล สิ่งลี้ลับที่หลายคนอยากค้นหา ช่างภาพใต้น้ำทำหน้าที่สื่อสารความน่าตื่นตาตื่นใจนี้ให้กับผู้คนผ่านภาพถ่าย การถ่ายภาพใต้น้ำเป็นศาสตร์เฉพาะทาง เนื่องจากช่างภาพไม่ได้ใช้เพียงมุมมองทางศิลปะในการสร้างสุนทรียะเท่านั้น แต่ยังต้องเข้าใจถึงธรรมชาติในขณะที่อยู่ใต้น้ำ ต้องเข้าใจในทักษะการดำน้ำ ต้องมีความชำนาญในการดำน้ำ และการใช้อุปกรณ์ถ่ายภาพใต้น้ำ ช่างภาพต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดของการถ่ายภาพใต้น้ำ ไม่ใช่การถ่ายภาพใต้น้ำ แต่เป็นความปลอดภัยของช่างภาพเอง ดังนั้นช่างภาพจะต้องหมั่นฝึกฝนการดำน้ำให้เกิดความชำนาญ ฝึกการใช้อุปกรณ์ในการถ่ายภาพใต้น้ำให้คล่องแคล่วประหนึ่งเป็นอวัยวะอีกส่วนของร่างกาย ไม่เช่นนั้นอุปกรณ์เหล่านั้นจะเป็นภาระอันใหญ่หลวง ภาพถ่ายชิ้นเอกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อช่างภาพยังมีโอกาสได้กดชัตเตอร์นั่นเอง การสร้างสุนทรียะของภาพถ่ายใต้น้ำ โดยแท้จริงใช้หลักการเดียวกันกับการจัดองค์ประกอบศิลป์ของภาพถ่ายบนบกนั่นเอง หากแต่มีความแตกต่างที่ข้อจำกัดเรื่องเทคนิคการถ่ายภาพ และความสามารถในการดำน้ำ เพราะเมื่อแสงเดินทางผ่านน้ำ การหักเหแตกต่างจากการที่แสงเดินทางผ่านอากาศ ช่างภาพต้องมีความเข้าใจเรื่องการหักเหของแสง การมองเห็น สีของวัตถุที่หายไปตามระดับความลึกที่แตกต่างกัน เรื่องเหล่านี้จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ทำให้การถ่ายภาพใต้น้ำแตกต่างจากการถ่ายภาพทั่วไป รวมทั้งบรรยากาศใต้ทะเล น้อยคนนักที่จะได้สัมผัส ภาพถ่ายใต้น้ำจึงเป็นภาพถ่ายที่สร้างสุนทรียะให้กับผู้รับสารเสมอเมื่อสัมผัสด้วยตา

References

กิตติธัช ศรีฟ้า (2564). ฝูงปลาในแหล่งดำน้ำเรือหลวงช้าง. ถ่ายเมื่อ 20 ตุลาคม 2564.

_______. (2564). ช่างภาพขณะถ่ายภาพสัตว์ขนาดเล็กใต้ทะเล. ถ่ายเมื่อ 20 ตุลาคม 2564.

_______. (2564). ฉลามวาฬแหล่งดำน้ำเกาะงามน้อย จังหวัดชุมพร. ถ่ายเมื่อ 20 ตุลาคม 2564.

_______. (2564). ช่างภาพใต้น้ำขณะไหลตามกระแสน้ำเพื่อบันทึกภาพฝูงปลา. ถ่ายเมื่อ 20 ตุลาคม 2564.

พรรัก เชาวนโยธิน. (2555). Underwater Photography 101: มาเรียนถ่ายภาพใต้น้ำด้วยความเข้าใจกันเถอะ. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.

วันชัย แจ้งอัมพร. (2531). ถ่ายภาพใต้น้ำกับกล้องนิโคนอส. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์. (2546). ฟิสิกส์ใต้น้ำ คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตรนักดำน้ำอนุรักษ์ใต้ทะเล. กรุงเทพมหานคร: โครงการอุทยานใต้ทะเลจุฬาภรณ์.

สุมิตรา ขันตยาลงกต. (2534). ทฤษฎีถ่ายภาพ. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพงษ์ เอี่ยมพิชัยฤทธิ์ และสุมิตรา ขันตยาลงกต. (2532). เทคโนโลยีภาพสี. กรุงเทพมหานคร: สารมวลชน.

อุรวิศ ตั้งกิจวิวัฒน์. (2554). การวัดแสงและการวัดสี. เอกสารประกอบการสอน. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Martin Edge. (2006). The Underwater Photographer Digital and Traditional Techniques. Amsterdam: Elsevier.

Nauticam. (2021). Innovation Underwater. Available from URL: https://www.nauticam.com.

PADI. (2005). Digital Underwater Photographer Specialty Course Instructor Outline. California: International PADI.

Seascout Diving. (2564). Scuba Diving Center. Available from URL: https://www.seascoutdiving.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-24