การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารของสื่อโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในมุมมองเชิงวิชาการและวิชาชีพสื่อสารมวลชน

ผู้แต่ง

  • ประพจน์ ณ บางช้าง แขนงวิชาการผลิตสื่อดิจิทัลและสตรีมมิ่งมีเดีย วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิโรจน์ ศรีหิรัญ แขนงวิชาการสร้างสรรค์เนื้อหาและงานข่าว วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

สื่อโทรทัศน์, นวัตกรรม, โทรทัศน์ระบบดิจิทัล, สื่อสารมวลชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบัน ค้นหาและวิเคราะห์ รวมทั้งพัฒนาและยกระดับให้สื่อโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยสู่การเป็นนวัตกรรมการสื่อสารทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัล โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับกลุ่มตัวอย่างนักวิชาการและนักวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชน จำนวน 12 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความเพื่อนำเสนอในลักษณะของการบรรยายเชิงพรรณนาหรือพรรณนาวิเคราะห์  ผลการวิจัยพบว่า สภาพการณ์ปัจจุบันของสื่อโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยนั้นยังมีปัญหาในทุกด้าน ทั้งในด้านความนิยมของผู้ชมรายการโทรทัศน์ที่น้อยลง ส่งผลด้านเศรษฐกิจที่ประสบปัญหาขาดทุนแทบทุกช่องสถานี, การค้นหาและวิเคราะห์นวัตกรรมการสื่อสารของสื่อโทรทัศน์ระบบดิจิทัลพบว่าควรเน้น “นวัตกรรมเฉพาะตัว”หรือมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแต่ละสื่อเองที่แตกต่างจากสื่ออื่น ๆ โดยจุดที่น่าสนใจคือนวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์นั้นควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ในทุกช่องทางการสื่อสารดิจิทัล, การพัฒนาสื่อโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทยสู่การเป็นนวัตกรรมการสื่อสารทางโทรทัศน์ระบบดิจิทัลควรใช้แนวคิดการหลอมรวมสื่อที่เน้นการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ทุกแพลทฟอร์มในลักษณะ“หนึ่งรายการ เผยแพร่หลากหลายสื่อ” และการยกระดับสื่อโทรทัศน์ระบบดิจิทัลนั้นควรใช้กลยุทธ์ในการเผยแพร่และสร้างการมีส่วนร่วมบนทุกแพลทฟอร์มให้กับประชาชนผู้รับสาร มีการเล่าเรื่องข้ามสื่อที่เชื่อมโยงเนื้อหาทั้งหมดให้เสริมกัน และสร้างเนื้อหาจากประเด็นสำคัญที่ตรงกับความสนใจของกลุ่มเป้าหมาย

References

นที ศุกลรัตน์. (2556). สู่ยุคทีวีดิจิตอลจุดเปลี่ยนวงการโทรทัศน์ไทย. สืบค้นจาก URL: http://www.nic.go.th/ gsic/e-book/TV-Digital.pdf.

วรพล มารศรี. (2556). ความต้องการรับชมระบบโทรทัศน์ดิจิทัลของประชาชนในบ้านเอื้ออาทรมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศุภกิจ แดงขาว. (2557). นวัตกรรมการสื่อสารแนวคิดค่านิยมของคนไทย 12 ประการ ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา. วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2562). ดิจิทัลดิสรัปชั่น เพิ่งจะเริ่มต้น. สืบค้นจาก URL: https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9620000001581.

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2561). การพัฒนานวัตกรรมเชิงเนื้อหาด้วยกลยุทธ์การเล่าเรื่องข้ามสื่อสำหรับรายการโทรทัศน์. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์. 12(1), 193-225.

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ และเมธา เสรีธนาวงศ์. (2547). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28