การพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โปรไฟล์องค์กรของบริษัท ไวท์ไลน์แอคทิเวชัน จำกัด โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเเบบ Simon Sinek’s Golden Circle

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • พรปภัสสร ปริญชาญกล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • มิ่งขวัญ เพ็ชรสวัสดิ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • อมรรัตน์ กิตติพงศ์พิสุทธิ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ภาสินี เราอัครรุ่งเรือง คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • นภัสภรณ์ โพธิพล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การประชาสัมพันธ์, การเล่าเรื่อง, วิดีโอคอนเทนต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินคุณภาพ 2) ประเมินผลการรับรู้ และ 3) ประเมินผลความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โปรไฟล์องค์กร โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเเบบ Simon Sinek’s Golden Circle เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ วิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โปรไฟล์องค์กร แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง และแบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานปัจจุบันที่ปฏิบัติงานอยู่ใน บริษัทไวท์ไลน์แอคทิเวชัน จำกัด โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จากพนักงานที่มีอายุงาน ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ที่เคยชมวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โปรไฟล์องค์กรที่พัฒนาขึ้น และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 30 คน ผลการวิจัยได้วิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ Company Profile โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องเเบบ Simon Sinek’s Golden Circle ความยาว 3 นาที จำนวน 1 เรื่อง ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x}= 4.38, S.D. = 0.58) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.61, S.D. = 0.50)  ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.70, S.D. = 0.58)  และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.62, S.D. = 0.57) ดังนั้นสื่อที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพ

References

กนิษฐา ยังเจริญ, กวินทรา กอแสงเจริญ และ ศรันยกร ศุภวิริยกุล. (2561). การผลิตชุดสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบวิดีโอ Showreel เพื่อแสดงผลงานโดยรวมของบริษัท CHANGE 2561. ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

กมลวรรณ แซ่ห่าน และพิมพ์วาด ศิลาน้อย. (2562). การพัฒนาสื่อไวรัลวิดีโอเพื่อการประชาสัมพันธ์ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ และคณะ. (2565). การพัฒนาสื่อวิดีโอคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์ศูนย์หนังสือพระจอมเกล้าธนบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. 2(1), 16-29.

จิรายุธ สุวรรณชัยยง พริมณ์ชนก ธนทรัพย์เพิ่มพูล และพศวีร์ ศรีสุดดี. (2563). การสร้างชุดวิดีโอเพื่อการประชาสัมพันธ์ผลงานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของบริษัทแบรนด์ธิงค์ จำกัด. ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

จำนง สันตจิต. (2556). ADDIE MODEL. สืบค้นจาก URL: https://www.gotoknow.org/posts/520517.

ทักษพร สุวรรณภูมิ และศรายุทธ์ เชียงเชาว์ไว. (2562). การสร้างสื่อวีดิทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เรื่องการเริ่มต้นธุรกิจดิจิตอลเอเจนซี่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ บริษัทวินคอร์ปอเรชั่นพลัส. ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ไทยแลนด์วิดีโอโปรดักชันส์. (2563). วิดีโอคอนเทนต์คืออะไรและมีขั้นตอนการทำวีดีโอคอนเทนต์ลงโซเชียลมีเดียอย่างไรบ้าง. สืบค้นจาก URL: https://thailandvideoproductions.com/video-content-for-social-media/.

พรทิพย์ วรกิจโภคาทร. (2536). การวิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: ประกายพรึก.

ฟ้า ชวันธวัช. (2562). 7 สูตรการเล่าเรื่อง Storytelling ให้แบรนด์ของคุณเป็นที่น่าจดจำ. สืบค้นจาก URL: https://stepstraining.co/content/7-formula-storytelling.

ศุภโชค คิดเหมาะ. (2559). บทบาทสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นจาก URL: https://sites.google.com/site/supachok571031243/bthbath-sakhay-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes.

สำนักประชาสัมพันธ์. (2560). การประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร. สืบค้นจาก URL: http://www.senate.go.th/assets/portals/49/news/73/2_km8-60.pdf.

อภิญญา รัตนไตรมงคล. (2563). การผลิตสื่อวีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์โรงแรมและร้านอาหารในพาร์ทเนอร์ของบริษัทมาคาเลียส (ประเทศไทย) จำกัด บนเครือข่ายสังคมออนไลน์. ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Whiteline Group. (2566). Whiteline Group. Avaible from URL: http://www.whiteline-group.com.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28