การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสเพื่อการประชาสัมพันธ์แบรนด์กางเกงยีนส์
คำสำคัญ:
ดิจิทัลคอนเทนต์, อัลบั้มโพส, นักบริหารงานประชาสัมพันธ์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินคุณภาพของดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสต์เพื่อการประชาสัมพันธ์แบรนด์กางเกงยีนส์ 2) เพื่อประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อดิจิทัลคอนเทนต์ที่พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสต์เพื่อการประชาสัมพันธ์แบรนด์กางเกงยีนส์ 2) แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ 3) แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง 4) แบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ติดตามเพจ Facebook ที่มีชื่อว่า Panti By TBY Jeans (For Learning) วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากผู้ติดตามเพจ จำนวน 30 คน โดยดิจิทัลคอนเทนต์แบบอัลบั้มโพสต์เพื่อการประชาสัมพันธ์แบรนด์กางเกงยีนส์ที่พัฒนาขึ้นมีจำนวนทั้งสิ้น 6 อัลบั้มโพสต์ ผลจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวนด้านละ 3 คน พบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่ออยู่ในระดับดีมาก ผลประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นดิจิทัลคอนเทนต์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปเผยแพร่ได้อย่างมีคุณภาพ
References
ณภัทร ดีเย็น. (2563) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับชุดเนื้อหาบนเครือข่ายสังคมเพื่อการประชาสัมพันธ์ชุมชนบางจาน จังหวัดเพชรบุรีโดยวิถีพุทธ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ณิชาพร เสนามนตรี. (2563) การพัฒนาวิดีโอร่วมกับการฝึกอบรมบนสื่อสังคมออนไลน์ เรื่องการพัฒนาบุคลิกภาพและมารยาทการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546) การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปภัสสร อินทเดช ณภัทร ดีเย็น และธัญชนก พิมมหา. (2556). การพัฒนาชุดเนื้อหาเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์สาระบันเทิงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน). ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554). สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร. 31(4), 99-103.
ภาวิณี บินรามัน พรปภัสสร ปริญชาญกล และกุลธิดา ธรรมวิภัชน์. (2565). การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์แบบอินโฟกราฟิกบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าประเภทโฮมเมดเบเกอรี่. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี. 2(2), 68-77.
ลักษณา สตะเวทิน. (2542). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.
ศวิตา ทองสง. (2555). แนวคิดเรื่อง ADDIEMODEL. สืบค้นจาก URL: https://sites.google.com/site/ prae8311/hlak-kar-xxkbaeb-khxng-addie-model.
ศักดิ์อนันต์ อนันตสุข. (2559). การใช้ดิจิทัลคอนเทนต์ในการจัดการเรียนรู้ ดิจิทัลคอนเทนต์ (DIGITAL CONTENT) คืออะไร มีอะไรบ้าง. สืบค้นจาก URL: http://www.anantasook.com/digital-content-in-education/.
หจก ดีเฟย์ จำกัด. (2566). TBY JEANS . สืบค้นจาก URL: https://tbyjeans.com.
Album Content. (2562). ออกแบบ ALBUM CONTENT. อย่างไรช่วยเพิ่มโอกาสปิดการขาย .สืบค้นจาก URL: https://www.1000content.com/ออกแบบ-album-content-อย่างไรช่วยเพิ่ม โอกาสปิดการขาย/.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต