การพัฒนาชุดดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ Paper-Cycle แยก แลก ใหม่ บนสื่อสังคมออนไลน์ของ บมจ.อสมท
คำสำคัญ:
โครงการ Paper-Cycle แยก แลก ใหม่, ชุดดิจิทัลคอนเทนต์, ประชาสัมพันธ์, สื่อสังคมออนไลน์บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินคุณภาพของชุดดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ Paper-Cycle แยก แลก ใหม่ บนสื่อสังคมออนไลน์ของ บมจ.อสมท 2) ประเมินผลการรับรู้ และ 3) ประเมินความพึงใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ Paper-Cycle แยก แลก ใหม่บนสื่อสังคมออนไลน์ของ บมจ.อสมท เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินผลการรับรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานและลูกจ้างชั่วคราวภายในบมจ.อสมทที่เคยชมดิจิทัลคอนเทนต์ และยินดีตอบแบบสอบถาม โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ซึ่งผลจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านสื่อรวมจำนวน 6 ท่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหา อยู่ในระดับดีมาก (= 4.86, S.D. = 0.36) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนอ อยู่ในระดับดีมาก (= 4.70,S.D. = 0.47) ผลประเมินการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.74, S.D. = 0.51) และผลประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.66, S.D. = 0.53) ดังนั้นชุดดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ Paper-Cycle แยก แลก ใหม่ บนสื่อสังคมออนไลน์ของบมจ.อสมท สามารถนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีคุณภาพ
References
กฤษณะ โพธิเวส. (2562). การพัฒนากระดาษรีไซเคิลเพื่อผลิตเชือกสำหรับงานประดิษฐ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไมได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ขวัญดาว ขาวงาม, พรจิรา ไววิ่งรบ, และเพ็ญพิชชา นาคแดง. (2563). การพัฒนาชุดเนื้อหาเพื่อการประชาสัมพันธ์บนสื่อสังคมออนไลน์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เรื่อง การบริจาคโลหิต “ยิ่งให้ ยิ่งได้ [ปริญญานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี.
จุฑามาศ สุดธง และปิยะวรรณ มันตาวิทย. (2558). การพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อการเรียนรู้เรื่อง คู่มือการอัพเดทหนังสือข่าวประชาสัมพันธ์ภายในองค์กร บริษัท อสมท จํากัด (มหาชน) [ปริญญานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ธฤดี เจษฎานุรักษ์กิจ และอัญชลี วงศ์สัมปัน. (2562). การพัฒนาชุดเนื้อหาเพื่อการประชาสัมพันธ์บนเฟซบุ๊กแฟนเพจของไนน์เอ็นเตอร์เทน เรื่อง E-Sport [ปริญญานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ธัญพิทชา แครี่. (2553, 19 ธันวาคม). การออกแบบกราฟิก. Design. http://thunpitcha. blogspot.com/ p/blog-page_4541.html.
นุชนาฏ วู. (2563). การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อประชาสัมพันธ์รายการ Couple or Not คู่ไหนใช่เลยของบริษัท เซ้นต์ เอนเตอร์เทนเมนต์ [ปริญญานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
บุศรินทร์ หนุนภักดี. (2555, 22 มิถุนายน). ความรู้เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์. Gotoknow. https://www.gotoknow.org/posts/188676
ประภาส ทองสุข. (2559). พฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียของสังคมไทยที่มีผลต่อภัยความมั่นคงแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/ doc_pr/ndc_25592560/PDF/wpa_8168/ALL.pdf
ประภาสี สวัสดิ์อำไพรักษ์. (2556). การประชาสัมพันธ์. STOU. https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sms/market/Unit8/Subm1/U811-1.htm.
ปรีชา ศรีศักดิ์หิรัญ. (2537). การรับรู้กับพฤติกรรมผู้บริโภค [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. เอกสารสอนชุดวิชา พฤติกรรมผู้บริโภค หน่วยที่ 1-8 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฝ่ายสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน). (2566, 9 สิงหาคม). โครงการ Paper-Cycle แยก แลก ใหม่ อสมท. MCOT Digital. https://www.mcot.net/ view/kCkkTwa5
พัชรภรณ์ ไกรชุมพล. (2555). ทัศนคติและพฤติกรรมการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ในการสร้างชื่อเสียง: กรณีศึกษายูทูบ (YouTube). TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:147546
ไพฑูรย์ โพธิสาร. (2547). มาตรวัดของลิเคอร์ท. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 37(2547), 17-20. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/ENEDU/ article/view/5830/5467
ศวิตา ทองสง. (2555). แนวคิดเรื่อง ADDIE MODEL. Sites Google. https://sites. google.com/site/prae8311/hlak-kar-xxkbaeb-khxng-addie-model
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). นิยามของดิจิทัลคอนเทนต์. NESDC. https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/more_news.php ?cid=380&filename =index
อนงค์ ประไพศรี. (2561). 6 ความลับ การสร้าง Online Content ให้มีประสิทธิภาพสูง. AM2B Marketing. https://www.am2bmarketing.co.th/content-marketing-article/online-content.
Anga. (2023, 10 มีนาคม). Social Media คืออะไร? ทำความรู้จักโซเชียลมีเดีย ประเภทและข้อดีข้อเสีย. Anga. https://anga.co.th/marketing/what-is-social-media
iRUNG. (2555, 11 ตุลาคม). โปสเตอร์ กับ สื่อการเรียนการสอน. BlogSpot. https://startted.blogspot.com/2012/10/blog-post.html
Mandala Team. (2023,July 25). รู้จักอาชีพ “Digital Content Creator” คืออะไร? มีเทคนิคอะไรบ้าง. Mandala System. https://blog.mandalasystem.com/th/digital-content-creator.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต