การพัฒนาสื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
สื่อดิจิทัล, เครือข่ายสังคมออนไลน์, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, นวัตวิถี, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
ในปัจจุบันประเทศไทยมีลักษณะเป็นสังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ พ.ศ. 2566 ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ จากสภาพปัญหาในอดีตพฤติกรรมของผู้สูงอายุยังขาดการเรียนรู้และเท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล และลักษณะการใช้งานอุปกรณ์สื่อสารที่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ของผู้สูงอายุ แต่สถานการณ์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล และนโยบายรัฐบาลสนับสนุนผู้สูงอายุให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ 2) ประเมินประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ 3) ประเมินความพึงพอใจที่มีผลต่อการใช้สื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า ผลการออกแบบและพัฒนาสื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภท เฟซบุ๊ก ติ๊กต๊อก และอินสตาแกรม ผู้วิจัยใช้หลักการออกแบบและพัฒนาระบบ โดยประยุกต์ใช้วงจรพัฒนาระบบ ผลการประเมินประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสื่อดิจิทัลที่มีประสบการณ์การทำงานสายวิชาการด้านการออกแบบและผลิตสื่อดิจิทัล อายุงานมากกว่า 10 ปี จำนวน 5 คน พบว่า คะแนนประสิทธิภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และรายข้ออยู่ในระดับดีมากทุกข้อ ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีผลต่อการใช้สื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวบริเวณตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 100 คน พบว่า ค่าระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
References
กันตพล บันทัดทอง. (2557). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และความพึงพอใจของกลุ่มคนผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. DSpace at Bangkok University. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/1298/3/kantapon_bunt.pdf
กฤตตฤณ ใจสุดา. (2563). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดด้านการส่งเสริมการขายบนช่องทางเฟซบุ๊กที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเบเกอรี่ของผู้บริโภคในประเทศไทย. [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/ 3933/1/TP%20MM.073%202563.pdf
เกศวลี ประสิทธิ์. (2563). การเปิดรับสื่อนวัตกรรมการบริการผ่านแอปพลิเคชันและพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันในการดำเนินชีวิต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. DSpace at Silpakorn University. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/3072/1/ 61606301.pdf
เกษตรก้าวไกล. (2561, 15 พฤษภาคม). สัมผัสวิถีแห่งชุมชนที่น่าหลงไหลที่บางเสาธงท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี. https://www.kasetkaoklai.com/home/2018/10
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2564, 12 มกราคม). เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจำวัน. บทเรียนวิชาเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลในชีวิตประจำวัน. https://animation. bsru.ac.th/digital
ชาญเดช เจริญวิริยะกุล, ธามม วงศ์สรรคกร, และอัครมณี สมใจ. (2566). การรับรู้ประโยชน์ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 6(1), 168-179.
ดวงทิพย์ เจริญรุกข์. (2563). พฤติกรรมการใช้และการยอมรับนวัตกรรมสื่อสังคมออนไลน์ของ กลุ่มผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 24(2), 229-237.
ทศพล ดำนุ่ม, เสกสรรค์ แย้มพินิจ, และโสพล มีเจริญ. (2565). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และพัฒนาสื่อดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถีของชุมชนตำบลแสงอรุณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งรัตนโกสินทร์, 4(2), 26-43.
เทศบาลตำบลบางเสาธง. (2566, 14 ธันวาคม). ผลิตภัณฑ์ชุมชน.https://bangsaothong.go.th
ธัญมาศ ทองมูลเล็ก. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในสังคมไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์]. NIDA Wisdom Repository. https://repository.nida.ac.th/server/api/core/ bitstreams/3c3a7dbe-6c99-4c6d-bd53-b8a 3b9571f9f/content
ธนวัฒน์ เอกสมุทร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรับชมสื่อออนไลน์ด้านการท่องเที่ยว. [สารนิพนธ์ปริญญา การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล]. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/ 4664/1/TP%20BM.041%202565.pdf
ธีระพงษ์ โสดาศรี. (2562, 21 เมษายน). โอทอปนวัตวิถีเรียนรู้ภาษาไทยจากสื่อมวลชน. Thailandplus. https://www. thailandplus.tv/archives/53463
พรเพ็ญ ชวลิตธาดา. (2565). แนวทางการสร้างรูปแบบการสื่อสารเพื่อซื้อสินค้าผ่านเฟซบุ๊กสำหรับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารอัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 17(33), 53-76.
พรพรรณ เหมะพันธุ์. (2565). ความสำเร็จของชุมชนท่องเที่ยวโอทอปนวัตวิถี กระบวนการและความเป็นผู้ประกอบการเชิงสถาบัน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 10(1), 22-34.
พรรคพล จีระนาเทพ. (2565, 29 สิงหาคม). การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลบนเครือข่ายสังคมออนไลน์. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. https://www.library.wu.ac.th/km
รวิพรรณ จารุทวี. (2563). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ในสื่อสังคมออนไลน์. [ปริญญานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. DSpace at Srinakharinwirot University. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/ bitstream/123456789/1226/1/gs621110139. pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2566, 2 พฤษภาคม). การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2566. http://www.nso.go.th/sites/2014/ DocLib13/2566/fullreport_Q2_66.pdf
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2560). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ซีเอ็ดยูเคชัน.
อารยา ผลธัญญา. (2564). การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(3), 272-288.
Coto, M., Fuentes, J., Lizano, F., & Mora, S. (2017, July 9-14). Social Media and Elderly People: Research Trends. International Conference on Social Computing and Social Media. [Symposium]. 9th Internnational Conference, SCSM 2017 Held as Part of HCI International 2017, Vancouver, BC, Canada.
Dei, D., & Oti-Boadi, M. (2022). Elderly social connectedness through social media platforms: a scoping review. Qeios. 6(2022), 1-6.
Ractham, P., Kaewkitipong, L., & Techatassanasoontorn, A. (2022). Old But Not Out: Social Media Use and Older Adults' Life Satisfaction. Australasian Journal of Information Systems. 26(2022), 1-28.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต