การพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์ที่ออกแบบโดยเน้นอัตลักษณ์องค์กร เพื่อการประชาสัมพันธ์บนแพลตฟอร์มออนไลน์เรื่องการแต่งกาย สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา ธรรมวิภัชน์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • พรปภัสสร ปริญชาญกุล คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ธีรภัทร สุคำภา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ภูริพัฒน์ วิริยานุชิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

การแต่งกาย , การประชาสัมพันธ์ , แพลตฟอร์มออนไลน์ , วิดีโอคอนเทนต์ , ออกแบบโดยเน้นอัตลักษณ์องค์กร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินคุณภาพ 2) ประเมินผลการรับรู้ 3) ประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อพัฒนาวิดีโอคอนเทนต์ที่ออกแบบโดยเน้นอัตลักษณ์องค์กรเพื่อการประชาสัมพันธ์บนแพลตฟอร์มออนไลน์เรื่องการแต่งกายสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ วิดีโอคอนเทนต์ที่ออกแบบโดยเน้นอัตลักษณ์องค์กรเพื่อการประชาสัมพันธ์การแต่งกายสำหรับนักศึกษา แบบประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาและด้านสื่อการนำเสนอ แบบประเมินผลการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่าง และแบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกที่ติดตามเพจเฟซบุ๊กส่งเสริมวินัยนักศึกษา มจธ. โดยได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จากนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่เคยชมวิดีโอคอนเทนต์แบบเน้นอัตลักษณ์องค์กรเพื่อการประชาสัมพันธ์ และยินดีตอบแบบสอบถาม จำนวน 50 คน ผลการวิจัยได้วิดีโอคอนเทนต์ที่ออกแบบโดยเน้นอัตลักษณ์เพื่อการประชาสัมพันธ์เรื่องการแต่งกายสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ความยาว 4 นาที จำนวน 1 เรื่อง ประกอบด้วย 4 ส่วนย่อย ผลการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีผลการประเมินคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.79, S.D. = 0.66) ผลการประเมินคุณภาพด้านสื่อการนำเสนออยู่ในระดับดีมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.58, S.D. = 0.50) ผลการประเมินด้านการรับรู้ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.82, S.D. = 0.43) และผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.84, S.D. = 0.39) ดังนั้นสื่อที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีคุณภาพโดยนำไปใช้จริงในภาคการศึกษาที่ 2/2566

References

ดาริกา รอดภัยพวง, รัตนเดช จริยเดช, และลักษณ์มาส เพ็ชรเสนา. (2561). การพัฒนาสื่อดิจิทัลแบบมีปฏิสัมพันธ์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของอนุสาร อ.ส.ท. เพื่อส่งเสริมการรับรู้และแรงจูงใจในการท่องเที่ยวในประเทศไทย [ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ธฤดี เจษฎานุรักษ์กิจ และอัญชลี วงศ์สัมปัน. (2562). การพัฒนาชุดเนื้อหาและกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์แบบเน้นการมีส่วนร่วมในโครงการประกวดคลิปวีดิทัศน์ เรื่อง “ทุนนี้เพื่อน้อง ทุนนี้เพื่ออนาคต” [ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

นันทิดา โอฐกรรม. (มปป.). ความหมาย ความสำคัญของอัตลักษณ์และภาพลักษณ์เพื่องานประชาสัมพันธ์และการสื่อสารองค์กร. [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. วิทยาลัยนิเทศศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

นุชนาฏ วู. (2563). การพัฒนาดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อประชาสัมพันธ์ รายการ Couple or Not คู่ไหนใช่เลยของบริษัทเซ้นต์ เอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด [ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

พิรญาณ์ ธีรวชิรกุล, มัลลิกา มาลี, และสุภัสสรณ์ เกื้อกูล. (2562). การสร้างชุดสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ [ปริญญานิพนธ์เทคโนโลยีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ภูริพงษ์ นิ่มโอ่. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการแต่งกายที่สุภาพของนิสิตระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. ใน การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10 (น. 898-907). https://esd.kps.ku.ac.th/kuk-conference/img/gallery/article_10/pdf/ o_human56.pdf

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2546). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าธนบุรี ว่าด้วยวินัยนักศึกษา พ.ศ. 2546. https://web.kmutt.ac.th/ saffairs/others/1.vinai2546.pdf.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2566). อัตลักษณ์องค์กร. https://www.kmutt. ac.th/corporate_identity/kmutt-identity

รัฐพล ลิ้มตรีวรศักดิ์. (2560). การพัฒนาชุดสื่อประชาสัมพันธ์โดยใช้เทคนิคการนำเสนอแบบอินโฟกราฟิกร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง (AR) สำหรับชุมชนกระบวนการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ลฎาภา ศรีพสุดา. (2562). บทบาทของสื่อใหม่ในการสร้างค่านิยมทางสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 7(2(14)), 10-16.

ศศิธร โรจน์สงคราม และอุบลวรรณ สงกรานตานนท์. (2557). การศึกษาทัศนคติของนักศึกษาเกี่ยวกับการแต่งเครื่องแบบนักศึกษา วิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัย มหิดล. Mahidol R2R e-Journal, 1(2), 46-54.

สุธัญญา กฤตาคม. (2564). กรอบแนวคิดการศึกษาการประชาสัมพันธ์เบื้องต้น. Journal of Modern Learning Development. 6(5), 261-273.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564, 30 กันยายน). 5 STEP ทำ Video Content ให้สุดปัง แบบง่าย ๆ สไตล์มือใหม่ก็ทำได้. https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/articles/e-Commerce/VDO-Content-01.aspx

Cotactic Digital Marketing Agency. (2021, 30 กันยายน). รวม 4 แพลตฟอร์ม Social Media ที่นิยมใช้มากที่สุด มีอะไรบ้าง? https://www.cotactic.com/blog/soicial- media-marketing

Krupee. (2552, 23 กันยายน). เกณฑ์การแปลผลที่เหมาะสมที่สุดของ Rating Scale.

https://krupee.blogspot.com/2009/09/rating-scale.html.

Mcgriff,J.S. (2000). Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model. https://www.lib.purdue.edu/sites/default/files/directory/butler38/ADDIE.pdf

Anantnakarakul Sitvisut. (2565, 10 มีนาคม). ไม่ทำได้ไหม? วิดีโอคอนเทนต์คืออะไร จะใช้ในการทำธุรกิจได้อย่างไร. https://www.primal.co.th/th/marketing/ what-is-video-content/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27