การรับรู้ข่าวสารและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ, การรับรู้ข่าวสารบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ข่าวสาร ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และ 3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสาร และความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ชุมชนในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานการวิจัย ได้แก่ t-test, ANOVA (F- test) และการทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ข่าวสาร ส่วนใหญ่รับรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต/สังคมออนไลน์ ร้อยละ 90.25 และความรู้ ความเข้าใจ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ระดับของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำสำหรับยกระดับการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี อยู่ในระดับมาก และ 3) กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และระยะเวลาอาศัยในพื้นที่ มีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศและรายได้เฉลี่ยแตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้พบว่า ความรู้ความเข้าใจ (r=.849) และการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร (r=.969) มีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับมากกับการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565, 20 กันยายน). กาญจนบุรี. https://thai.tourismthailand.org
กรรณิกา เขจรลาภ. (2557). ความรู้ความเข้าใจและการรับรู้ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จริยาภรณ์ เจริญชีพ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลถ้ำรงค์อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี.วารสารสารสนเทศ, 16(2), 85-97.
นาดียา กูโน, ภัทรพร อุดมทรัพย์, วรางคณา ตันฑสันติสกุล. (2563). การรับรู้ข่าวสารและทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของประชากรในจังหวัดสงขลา. วารสารสิ่งแวดล้อม, 24(2), 1-9.
นิคมศม อักษรประดิษฐ์. (2558). กระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism) กรณีศึกษาพื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. โรงพิมพคุรุสภา ลาดพร้าว.
สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 183-197.
สัญญา เคณาภูมิ. (2551). ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนลุ่มน้ำโขง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุนันท คัลโกสุม. (2542). การวัดพฤติกรรมด้านความรู้และความคิด [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย.
อัญชลี นาคสีสุก. (2554). การรับรู้การสื่อสารทางการตลาดผ่านกิจกรรมการตลาดด้านดนตรี (Music Marketing) ของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2558). LOW CARBON TOURISM เที่ยวแบบคนไม่เอาถ่าน. โคคูน แอนด์ โค
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. John Wiley & Sons.
Cohen, J.M. & Uphoff, N.T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. Cornell University Press
Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. McGraw-Hill.
Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. The Free Press.
Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline Field: The Art and Practice of the Practice of the Learning Organization. Boubleday/Cuurrency.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต