การกำหนดกรอบข่าวออนไลน์เกี่ยวกับการระรานทางไซเบอร์

ผู้แต่ง

  • รัชฎาวรรณ รองทอง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พนม คลี่ฉายา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การกำหนดกรอบข่าวออนไลน์, การระรานทางไซเบอร์, จริยธรรมสื่อสารมวลชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาการกำหนดกรอบข่าวออนไลน์เกี่ยวกับการระรานทางไซเบอร์ของสื่อมวลชนประเภทกิจการโทรทัศน์ และเว็บไซต์หรือเฟซบุ๊กเพจนำเสนอข่าวและเหตุการณ์ รวมทั้งการสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการนำเสนอข่าวออนไลน์เกี่ยวกับการระรานทางไซเบอร์ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจออนไลน์ ผู้จัดการฝ่าย Trending Content ผู้สื่อข่าว และ Creative ฝ่ายข่าวบันเทิง จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การกำหนดกรอบข่าวออนไลน์เกี่ยวกับการระรานทางไซเบอร์ สามารถเตือนภัย ให้ความรู้เชิงกฎหมายเกี่ยวกับการระรานทางไซเบอร์ และสามารถสร้างความเห็นอกเห็นใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อลดการเกิดปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ที่เข้าข่ายการระรานทางไซเบอร์ซ้ำ รวมทั้งเพื่อสร้างการตระหนักรู้เรื่องการเคารพสิทธิของบุคคลอื่นเพื่อลดโอกาสเกิดการระรานทางไซเบอร์ในอนาคตได้ และ 2) การสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการนำเสนอข่าวออนไลน์เกี่ยวกับการระรานทางไซเบอร์ต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งผู้กำกับดูแลสื่อ และผู้ประกอบการสื่อสารมวลชน

References

กฤษณะ แสงจันทร์ (2558). การกำหนดวาระประเด็นดาราผู้มีชื่อเสียงผ่านข่าวบันเทิงทางโทรทัศน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. TU. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:92988.

กาญจนา แก้วเทพ. 2556. กระบวนทัศน์ใหม่ของสื่อสารศึกษาไทย. ฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (พ.ศ. 2552-2555).

การดา ร่วมพุ่ม, มนวิภา วงรุจิระ, และสันทัด ทองรินทร์ (2564). การวางกรอบข่าวเด็กของหนังสือพิมพ์ไทยและการวิเคราะห์ประเด็นจริยธรรมและสิทธิเด็ก. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 11(2), 83-99.

ชญานนท์ ชมดี และวิเชษฐชาย กมลสัจจะ. (2023). การระรานทางสื่อสังคมออนไลน์ กรณีศึกษาการแสดงความคิดเห็นในเพจ “Blasian Chick”. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, 11(2), 1–20. https://doi.org/10.14456/husoaru.2023.9

ชินดนัย ศิริสมฤทัย. (2560). การรับรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการเกิดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. BU. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3160/3/ chindanai_siri.pdf

ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช. (2559). สื่อดิจิทัลใหม่ สื่อแห่งอนาคต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เทียนทิพย์ เดียวกี่. (2559). จริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อในการนำเสนอข่าวยุคดิจิทัล. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 2(2), 125–143.

นภาวรรณ อาชาเพ็ชร. (2560). การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ ความรุนแรงที่ต้องแก้ไขและนวัตกรรมการจัดารปัญหา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(1), 100-106.

พินวา แสนใหม่. (2563). การรังแกทางไซเบอร์ผ่านสื่อออนไลน์ สาเหตุ และแนวทาง

การจัดการปัญหา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์] Nida. https://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2563/b210818e.pdf

เมธินี สุวรรณกิจ. (2560). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการถูกกลั่นแกล้งในสังคมออนไลน์. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2), 49-70.

สกล วรเจริญศรี. (2559). การข่มเหงรังแก. ใน สารานุกรมศึกษาศาสตร์ (ฉบับที่ 51, หน้า 13-20). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สกุลศรี ศรีสารคาม. (2557). จริยธรรมการใช้สื่อออนไลน์และสื่อสังคมในกระบวนการสื่อข่าวของสื่อไทยในยุคดิจิทัล. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ.

สุรีวัลย์ บุตรชานนท์. (2561). บทบาทหน้าที่ของสื่อออนไลน์กับการรายงานข่าวความรุนแรงต่อเด็ก. นิเทศสยามปริทัศน์, 17(23), 34-45.

Entman, R. M. (1993). Framing: Toward Clarification of a Fractured Paradigm. Journal of Communication, 43(4), 51-58. https://doi.org/10.1111/j.1460-2466.1993.tb01304.x

Friedland, L.A. & Zhong, M. (1996). International Television Coverage of Beijing Spring 1989: A Comparative Approach. https://www.academia. edu/7246351/International_Television_Coverage_of_Beijing_Spring_1989_A_Comparative_Perspective

Hinduja, S. & Patchin, J. W. (2015). Bullying Beyond the Schoolyard: Preventing and Responding to Cyberbullying (2nd ed.). Corwin.

Kernaghan D. & Elwood J. (2013). All the (Cyber) World’s a Stage: Framing Cyberbullying as a Performance. Cyberpsychology Journal of Psychosocial Research on Cyberspace, 7(1), Article 5. https://cyberpsychology.eu/article/view/4279/3323

Scheufele, D. (1999). Framing as a Theory of Media Effects. Journal of Communication, 49(1), 103–122. https://doi.org/10.1111/j.1460-2466.1999.tb02784.x

Smith, P.K., Mahdavi, J., Carvalho, M., Fisher, S., Russell, S. and Tippett, N. (2008), Cyberbullying: its nature and impact in secondary school pupils. Journal of Child Psychology and Psychiatry, 49(4), 376-385. https://doi.org/10.1111/j.1469-7610.2007.01846.x

Tijana, M. (2015). Cyberbullying in US Mainstream Media. Media. Journal of Children and Media, 9(4), 492-509. https://doi.org/10.1080/17482798. 2015.1089300

Yang, L. F. (2020). Media reporting of cyberbullying: A framing analysis of The Star. Journal of Asian Pacific Communication, 30(1-2), 290–309. https://doi.org/10.1075/japc.00053.yan

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27