อิทธิพลของประสิทธิภาพการสื่อสารของสถานีตำรวจในพื้นที่กรุงเทพตะวันออก
คำสำคัญ:
การเข้าถึงคู่มือประชาชน, การสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร, การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์, การเข้าถึงช่องทางร้องเรียน, ประสิทธิภาพการสื่อสารของสถานีตำรวจบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นของประชาชนผู้รับบริการต่อประสิทธิภาพการสื่อสารของสถานีตำรวจ และ 2) อิทธิพลของการเข้าถึงคู่มือประชาชน การสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และการเข้าถึงช่องทางร้องเรียนที่มีต่อประสิทธิภาพการสื่อสารของสถานีตำรวจ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชาชนที่เข้ารับการบริการจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 4 ใน 8 สถานี จำนวน 400 คน ใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนส่วนใหญ่พึงพอใจประสิทธิภาพการสื่อสารของสถานีตำรวจระดับปานกลาง (=5.87 จากคะแนนเต็ม 10, S.D.=0.69) โดยพึงพอใจการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด (=2.82 จากคะแนนเต็ม 5, S.D.=0.67) รองลงมาไล่เรียงลำดับ ได้แก่ การเข้าถึงช่องทางร้องเรียน การเข้าถึงคู่มือประชาชน และการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กรเป็นลำดับท้าย (=2.59 จากคะแนนเต็ม 5, S.D.=0.77) และ 2) การเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลทางตรงมากที่สุดต่อประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารของสถานีตำรวจ (=0.834) ส่วนการเข้าถึงคู่มือประชาชนมีอิทธิพลทางอ้อมและผลรวมมากที่สุดต่อประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารของสถานีตำรวจ (=1.472 (ทางอ้อม)/=2.283 (ผลรวม)) ทั้งนี้การเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารของสถานีตำรวจควรใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นช่องทางหลักในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คู่มือประชาชนให้ประชาชนผู้รับบริการสามารถเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว เนื่องเพราะทั้งสองประเด็นข้างต้นมีอิทธิพลทั้งทางตรง ทางอ้อม และผลรวมมากที่สุดต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารของสถานีตำรวจ
References
กรุงเทพมหานคร. (2566). สถิติกรุงเทพฯ พ.ศ. 2565 ประชากรและความหนาแน่นในกรุงเทพมหานคร. https://webportal.bangkok.go.th/pip/page/26222/สถิติกรุงเทพมหานคร-2565
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. (2566, 30 พฤษภาคม). สำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หารือการผลิตสื่อและเผยแพร่ เพื่อเฝ้าระวังอาชญากรรมออนไลน์เชิงรุกแก่ประชาชน. https://www.thaimediafund.or.th/news-300566/
ปนัดดา รักษาแก้ว. (2566). การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(5), 444-459.
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565. (16 ตุลาคม 2565). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนที่ 64 ก หน้า 1-82.
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรมีส่วนร่วมในกิจการตำรวจ พ.ศ. 2551. (3 มีนาคม 2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนพิเศษ 45 ง หน้า 13.
ลลิตา พ่วงมหา. (2563). การใช้กลยุทธ์การตลาดออนไลน์เชิงอิทธิพลเพื่อสื่อสารแบรนด์ในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ. วารสารนิเทศศาสตร์, 38(3), 17-29.
วชิรพงศ์ ศรีเจริญวงศ์. (2566). การแสดงออกทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 14(1), 287-304.
วัชรี วัฒนาสุทธิวงศ์. (2566). การลดความขัดแย้งด้านข้อมูลจากการเสพสื่อออนไลน์ด้วยพุทธสันติวิธี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(3), 104-118.
ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์, วิชัย รูปขำดี, พรรณาภา ดอกชบา, ประกอบเกียรติ อิ่มศิริ, Andre, V., Sarvela, O., และวรินทร บุญยิ่ง. (2566). แนวทางการพัฒนาแนวปฏิบัติที่ดีและมาตรฐานทางจริยธรรมของการนำเสนอเนื้อหาบนสื่อออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการประทุษวาจา (Hate Speech) การกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyberbullying) และการสร้างแนวคิดหัวรุนแรง (Radicalization) สำหรับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. วารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, 2(4), 24-58.
สำนักงานคณะกรรมป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2566). คู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ของสถานีตำรวจประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กลุ่มพัฒนาระบบและวิชาการ สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส.
สำนักงานคณะกรรมป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2567). ป.ป.ช. เน้นย้ำ OIT ของสถานีตำรวจ พร้อมยกระดับการให้บริการประชาชน One Stop Service. https://www.nacc.go.th/categorydetail/ 20180831184638361/20240319170239?
สำนักงานบริหารและสำนักงานทะเบียนปลัดกรุงเทพมหานคร. (2567). คำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 2460/2552 ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552 เรื่อง การแบ่งกลุ่มงานออกเป็นเขต. http://office2.bangkok.go.th/ ard/?page_id=4048
สำนักประชาสัมพันธ์. (2561). การประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อการประชาสัมพันธ์องค์กร. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สำนักประชาสัมพันธ์. (2561). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook). สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
สำนักยุทธศาสตร์ตำรวจ. (2558). คู่มือประชาชน. โรงพิมพ์ตำรวจ.
Hine, K.A., & Bragias, A. (2021). Effective Communication during Major Crises: A Systematic Literature Review to Identify Best Practices for Police. Police Practice and Research, 22(5), 66-78.
Krishna, D. (2018). Decoding 7C's in Effective Communication. International Journal of Communication, 28(1-2), 37-46.
Oxholm, P.D., & Glaser, J. (2023). Goals and Outcomes of Police Officer Communication: Evidence from In-Depth Interviews. Group Processes & Intergroup Relations, 26(4), 52.
Raifman, S., DeVost, M.A., Digitale, J.C., Chen, Y.H., & Morris, M.D. (2022). Respondent-Driven Sampling: a Sampling Method for Hard-to-Reach Populations and Beyond. CurrEpidemiol Rep, 9, 38-47.
Schuler, J., Anderson, B., & Kusshauer, A. (2023). Test-Retest Reliability in Metric Conjoint Experiments: A New Workflow to Evaluate Confidence in Model Results. Entrepreneurship Theory and Practice, 48(2), 42-57.
Sgarbossa, J., Lúcio, A.D., Silva, J.A.G., & Caron, B.O. (2024). Multivariate Assumptions and Effect of Model Parameters in Path Analysis in Oat Crop. Researchgate. https://www.researchgate.net/publication/378639140_Multivariate_assumptions_and_effect_of_model_parameters_in_path_analysis_in_oat_crop
U.S. Department of Health and Human Services. (2022). The Belmont Report: Ethical Principles and Guidelines for the Protection of Human Subjects of Research. https://www.hhs. gov/ohrp/regulationspolicy/belmont-report/html
Vörösmarty, G., & Dobos, L. (2020). Green Purchasing Frameworks Considering Firm Size: A Multicollinearity Analysis using Variance Inflation Factor. Supply Chain Forum, 21(3).
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต