การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ประภาภรณ์ รัตโน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุธัญญา กฤตาคม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล, การรู้เท่าทันสื่อ, นักศึกษา, สื่อออนไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล 2) ศึกษาการรู้เท่าทันสื่อ 3) ศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาในการใช้สื่อออนไลน์กับการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลและการรู้เท่าทันสื่อ และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลกับการรู้เท่าทันสื่อของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด จำนวน 389 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ One-way ANOVA และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสถิติสหสัมพันธ์เพียรสัน ผลการศึกษาพบว่า การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลเมื่อจำแนกรายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยด้าน Empathic Concern Scale มากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.65 รองลงมาคือ ด้าน Perspective-taking Scale คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.43 ตามมาด้วย ด้าน Fantasy Scale คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.36 และด้าน Personal Distress Scale คิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.29 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างการใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยเฉลี่ยต่อวันต่างกันมีการรู้เท่าทันสื่อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างการใช้สื่อสังคมออนไลน์โดยเฉลี่ยต่อวันต่างกันมีการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลไม่แตกต่างกัน การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลไม่มีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันสื่อ ผลจากการวิจัยสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาตัวชี้วัดและแนวทางในการพัฒนาการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัลต่อไป

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ปริญญา ชะอินวงษ์. (2563). การถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายในเยาวชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 11(1), 133-151.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2567, 4 เมษายน). รวมสถิติและ Insight สำคัญ ๆ ของคนไทยกับการใช้ Digital และ Social Media 2024. Popticles. https://www.popticles.com/insight/thailand-digital-and-social-media-stats-2024/.

พนม คลี่ฉายา. (2559). การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของนักเรียนมัธยม. นิเทศศาสตรปริทัศน์นิเทศศาสตรปริทัศน์, 10(1), 46-57.

ศรวัสย์ สมสวัสดิ์, ปิยฉัตร ล้อมชวการ, และกมลรัฐ อินทรทัศน์. (2565). การรู้เท่าทันสื่อเฟซบุ๊กของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(5), 55-68.

ศุกัญญา อินศิริ. (2564). แนวทางการส่งเสริมการร่วมรู้สึกของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ปราจีนบุรี นครนายก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/handle/123456789/4266

สาลินี ธำรงเลาหะพันธุ์ และคณะ. (2565). การกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์และการรับมืออย่างเหมาะสมในกลุ่มเยาวชน.วารสารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์, 1(3), 47-69.

สรานนท์ อินทนนท์. (2563). ทักษะการเอาใจเค้ามาใส่ใจเราทางดิจิทัล. Cclick. https://cclickthailand.com/wp-content/uploads/2020/04/digital_empathy.pdf.

สำนักวิชาการและประมวลผล มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. (2566). สถิตินักศึกษาภาคปกติ 1-66. https://academic.reru.ac.th/2020/Page_New_Detail.php?NId=104&ItemId=RNew04

สุภารักษ์ จูตระกูล. (2559). ครอบครัวกับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล (Digital Literacy) ของดิจิทัลเนทีฟ (Digital Natives). วารสารวิทยาการจัดการ, 11(1), 131-150.

Zhefeng, S. (2023). Internet Use Influences Digital Empathy: a Survey on Chinese Young Adults. Journal of Education, Humanities and Social Sciences, 8, 264-272.

Davis, M. H. (1983). Measuring Individual Differences in Empathy: Evidence for a Multidimensional Approach. Journal of Personality and Social Psychology, 44, 113e126. http://dx.doi.org/10.1037/0022-3514.44.1.113.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29