ความต้องการในการใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์การศึกษาชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
ความต้องการบริการทางการศึกษา, ความต้องการศึกษาต่อ, นักเรียนมัธยมศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง ความต้องการในการใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ศูนย์การศึกษาชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม 400 ชุด ศึกษาความต้องการรับบริการทางการศึกษาและความต้องการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในการเปิดศูนย์การศึกษาชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ดำเนินการวิจัยโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์จากผู้ใช้บัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรม ทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้นำชุมชนที่อยู่ในรัศมีใกล้เคียงอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 10 คน และการตอบแบบสอบถามโดยนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ การใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า อำเภอชัยบาดาล มีความต้องการแรงงานทักษะสูง และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ ส่งผลให้มีความต้องการบัณฑิตที่มีทั้งทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นต่อวิชาชีพ (Hard Skill) และทักษะที่องค์กรต้องการในการทำงาน (Soft Skill) รวมทั้งควรมีการพัฒนาทักษะทั้งสองด้านอย่างต่อเนื่องภายหลังสำเร็จการศึกษา โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการศึกษาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานวิชาชีพ ทั้งนี้นักเรียนตัดสินใจศึกษาต่อจากความสนใจในสาขาวิชา โอกาสในการประกอบอาชีพ และสิ่งอำนวยความสะดวกของมหาวิทยาลัย โดยมีความคาดหวังว่าจะได้รับการศึกษาในหลักสูตรที่ทันสมัยมีคุณภาพ และมีโอกาสในการประกอบอาชีพเมื่อสำเร็จการศึกษา ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เพื่อการจัดตั้งศูนย์การศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยด้านมาตรฐานและความพร้อม ปัจจัยด้านความสะดวกสบาย ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านชื่อเสียงและบริการ
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2566). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
กานดา จันทร์แย้ม. (2565). ทักษะที่จำเป็นสำหรับเยาวชนเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานในยุคศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษาภาคใต้ประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 17(3), 127-137.
กิ่งแก้ว อารีรักษ์. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบหลากหลาย. อัลฟ่ามิเล็นเนียม.
ฉวีวรรณ เสวกฉิม และธนภพ โสตรโยม. (2567). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 8(1), 123-133.
ชวลิต ขอดศิริ และดารณีย์ พยัคฆ์กุล. (2563). ความต้องการสมรรถนะด้านแรงงานและการผลิตกำลังคนสู่ตลาดแรงงานในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 3(4), 1-15.
ประเสริฐศรี ขาวช่วง. (2559). ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดลพบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
พีรวิชญ์ รุ่งเจริญ และณรงค์ ฤทธิ์มีเสม. (2566). ความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารการวัดประเมินผลสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 4(1), 25-38.
ภัทรธิวา วารินทร์. (2539). ปัจจัยที่มีความสัมพันธกับการศึกษาต่อและไม่ศึกษาตอการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนตนของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ยุวดี มาพุทธ. (2559). ทำไมควรเรียนต่อในระดับบัณฑิตศึกษา. Mthai. https://teen.mthai.com/ education/91114.html.
วรธา มงคลสืบสกุล. (2565). แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสู่การพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหลังยุคโควิด-19. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 267-282.
วิทวัส เหล่ามะลอ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปีการศึกษา 2562 โดยผ่านการคัดเลือกด้วยระบบ TCAS (รายงานผลการวิจัย). สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศุภชัย ศรีสุชาติ. (2561). ทิศทางการจ้างงานของประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0. สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภวัลย์ พลายน้อย และเนาวรัตน์ พลายน้อย. (2528). สารศึกษาประชากร. ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมิตา จุลเขตร์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(4), 195-210.
สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. (2561). ศึกษาวิจัยทิศทางการจ้างงานของประเทศไทยในยุคอุตสาหกรรม 4.0 (รายงานผลการวิจัย). สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนุพงศ์ ทึ่งในธรรม, สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศ, และภูวดล ศิริรังสี. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในเขตพื้นที่ EEC. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 1-12.
อำนวย ตันพานิชย์, ธีรนันท์ ตันพานิชย์, และสิริลักษณ์ พิชัยณรงค์. (2564). แนวโน้มความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรและสาขาใหม่ระดับปริญญาตรี โครงการจัดตั้งวิทยาเขตสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 5(1), 1-10.
Maslow, A. H. (1974). Dominance, Self-esteem, Self-actualization: Germinal Papers of A. H. Maslow. In the A. H. Maslow series. R. J. Lowry (Ed.). Monterey, Brooks/Cole.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright (c) วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร
วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร อยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License. (CC BY-Nc-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต