ภาวะผู้นำ ภาวะผู้ตาม และอิทธิพลกำกับของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ
คำสำคัญ:
การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ภาวะผู้ตาม, ความผูกพันต่อองค์การบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ภาวะผู้นำ ภาวะผู้ตาม และความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร (2) ภาวะผู้นำ และภาวะผู้ตาม ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร (3) อิทธิพลกำกับของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ ภาวะผู้ตามและความผูกพันต่อองค์การ ประชากร คือ บุคลากรที่เป็นพนักงานประจำในระดับปฏิบัติการของบริษัทผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร มีจำนวนบุคลากรกลุ่มตัวอย่าง 219 คน ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบช่วงชั้น (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่การวิเคราะห์แบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง (Structural equation model) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS 3.0
ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำเชิงบารมี ภาวะผู้นำการกระตุ้นทางปัญญา และภาวะผู้ตามแบบเอาตัวรอดส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร และพบว่าการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลกำกับระหว่างภาวะผู้นำและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 95 ผลการวิจัยยังพบอีกว่า การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลกำกับระหว่างภาวะผู้ตามและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 92
References
กฤษดา เชียรวัฒนสุข, สุรพร อ่อนพุทธา และ สุพรรณษา ฟักขํา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบภาวะ ผู้นํา รูปแบบภาวะผู้ตามกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน. วารสาร สหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 25 - 34.
ญาดา สามารถ. (2558). รูปแบบภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของเจนเนอเรชันเอ็กซ์และเจนเนอเรชันวาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ทศวรรษ บุญญา และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2560). ภาวะผู้ตามและการรับรู้รูปแบบการใช้อำนาจของหัวหน้างานของพนักงาน บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัดที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน. ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ The 9th ASEAN + C + I Symposium on Business Management Research (น. 1329-1348). ชลบุรี: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปัทมา เจริญพรพรหม. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความผูกพันในงาน และความผูกพันต่อองค์การ : กรณีศึกษาพนักงานกลุ่มบริษัทผู้ผลิตสินค้าบริโภคข้ามชาติแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพฯ. (งานวิจัยส่วนบุคคลปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
มุทิตา คงกระพันธ์. (2554). การศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การผ่านความผูกพันองค์การ และความพึงพอใจในงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
รัตนภัทร สุวรรณสิทธิ์. (2558). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการ ปฏิบัติงาน ผ่านสมรรถะหลักของบุคลากรสำนักงานประกันสังคม. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
วรางคณา กาญจนพาที. (2556). ภาวะผู้นำและภาวะผู้ตามที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์การ: กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
ศศินันท์ ทิพย์โอสถ. (2556). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การของพนักงานที่มีผลต่อการปฏิบัติงานในภาคธุรกิจธนาคาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
สมพงษ์ เพชรี และกล้าหาญ ณ น่าน. (2562). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ไทยโอบายาชิ จำกัด. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 5(2), 82 - 99.
สุกัญญา มีสมบัติ และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2558). ภาวะผู้ตามและประสิทธิภาพทีมงานที่มีอิทธิพลต่อองค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ใน รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ The 7th ASEAN + C + I Symposium on Business Management Research (น. 444 - 462). ชลบุรี: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
อมรรัตน์ แสงสาย. (2558). ปัจจัยด้านองค์การและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงานเจอเนอเรชั่นวาย กรณีศึกษา บริษัท เอเชียน สแตนเลย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
อมรรัตน์ แสงสาย และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2559). ปัจจัยด้านองค์กรและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่มีผลต่อความผูกพันองค์กรของพนักงาน Generation Y: กรณีศึกษาบริษัท เอเชียนสแตนเล่ย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 8(2), 111 - 116.
Allen, N. J., and Meyer, J.P. (1990). The measurement and antecedent of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63, 1 - 18.
Aubé, C., and Rousseau, V. (2005). Team Goal Commitment and Team Effectiveness. Journal of Organization Management, 9(3), 189 - 204.
Avolio, Bernard M. Bass and Dong I. Jung. (1999). Occupational and Organizational Psychology, 72(4), 441 - 462.
George, J. M., and Jones, G.R. (1999). Understanding and managing: Organizational behavior (2nd ed). Massachusetts: Addison.
Porter, L. W., Steers, R.M., Mowday, R.T., and Boulin, P.V. (1974). Organizational commitment, job satisfaction, and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology, 59 (5), 603 - 609.
Sangperm, N. and Chienwattanasook, K. (2019). Roles of Transformational Leadership that Encourage Employees to have the Innovation Work Behavior. Asian Administration and Management Review, 2(1), 33 - 42.
Stephen P. Robbins and Timothy A. Judge. (2019). Organizational Behavior, Global Edition (18th ed.). United States: Pearson Education.
Sullivan, E.J., and Decker, P.J. (1990). Effective leadership management in nursing. (5th ed). New Jersey: Prentice-Hall.
Thach, E.C., Thompson, K.J. and Morrisl, A. (2006). A Fresh Look at Followership: A Model for Matching Followership and Leadership Styles. San Francisco: Sonoma State University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้นิพนธ์
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และคณาจารย์ท่านอื่น ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว