ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจไร่สับปะรดของเกษตรกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • พิมพ์กมล แก้วไทรนันท์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
  • สุวัฒน์ ฉิมะสังคนันท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม
  • วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

คำสำคัญ:

ปัจจัยความสำเร็จ, เกษตรกร, ไร่สับปะรด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจไร่สับปะรดของเกษตรกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของความสำเร็จในการประกอบธุรกิจไร่สับปะรดของเกษตรกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ เจ้าของธุรกิจเกษตรกรไร่สับปะรดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 210 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจไร่สับปะรดของเกษตรกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความแตกต่างกันตาม อายุ ขนาดของพื้นที่ในการทำการเกษตร และประสบการณ์ในการทำการเกษตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่เพศ การศึกษาและรายได้ ไม่มีความแตกต่างกัน 2) ความสำเร็จในการประกอบธุรกิจไร่สับปะรดของเกษตรกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มีความสัมพันธ์กันสูงสุดใน 3 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านบุคคลสัมพันธ์กับด้านการตลาด มากที่สุด (Rxy=0.74) รองลงมาคือ ด้านการเงินสัมพันธ์กับด้านการตลาด (Rxy=0.68) และด้านบุคคลสัมพันธ์กับด้านการเงิน (Rxy=0.69) ตามลำดับ

References

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ปัญญาชน

กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง. (2562). การส่งออกของไทย. สืบค้นจาก http://www2.ops3.moc.go.th/

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). สถานการณ์ผลิตสับปะรดและแนวทางการบริหารจัดการผลผลิต ปี 2564. สืบค้นจาก https://secreta.doae.go.th/?p=6598

ดอกจันทร์ คํามีรัตน์, บุญทัน ดอกไธสง และ อิมรอน มะลูลีม. (2552). กลยุทธ์ในการบริหารของบริษัท เอ็นอีซีโทคิน อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด. สืบค้นจาก http://www.grad.vru.ac.th/download4/141.pdf

นิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์. (2553). ได้ทำการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจชุมชน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 4(2), 103 - 111.

ปัณณทัต อภิชาตชัยเดชา. (2554). วิเคราะห์งบการเงิน. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/pannatad2554/home/bth-thi1

เปรมชัย สโรบล. (2550). ปัจจัยการบริหารที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ภัทราพร สระทองฮ่วม. (2560). ความสำเร็จในการดำเนินงานของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 4(2), 22 - 32. doi: 10.14456/jmsnpru.2017.13

มารศรี บัวชุม. (2554). ความโปร่งใสในการบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต1. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์).

วิรัช นิภาวรรณ. (2552). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหนวยงานของรัฐ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย, ทศพล ตั้งวิริยะ และ ธมลวรรณ จรเสมอ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจเลี้ยงกุ้งเพื่อการพาณิชย์ ในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 10 (S), 68 - 77.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และ ศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2557). หลักการตลาดสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2563). องค์ความรู้การเกษตร. สืบค้นจาก https://www.opsmoac.go.th/prachuapkhirikhan-knowledge-article

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2563 และแนวโน้มปี 2564. สืบค้นจาก http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/bappdata/files/Outlook%202563%20-2564%20.pdf

สมภพ ระงับทุกข์. (2554). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: เกศิณ.

เอกกมล เอี่ยมศรี. (2557). การบริหารการเงิน. สืบค้นจาก http://eiamsri.wordpress.com.

Bartol, K. M., and Martin, D. C. (2001). Management. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New York: Pearson.

Hallman, V. G.and Jerry S.R. (2000). Personal Finance Planning (6th ed). New York: McGraw-Hill.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. (The Millennium edition). New Jersey: Prentice - Hall.

Mondy, W. R. and Noe, R. M. (1990). Human Resource Management. Boston: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29